ความเข้มข้นเชื้อราในอากาศจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยแบบเทกอง กรณีศึกษา: พื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ แสงคำ
  • พรพรรณ สกุลคู
  • จาลอง อรุณเลิศอารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นเชื้อราในอากาศตาม
ระยะห่างที่แตกต่างกันใน 4 ทิศ จากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยแบบเทกอง กรณีศึกษา: พื้นที่เทศบาลนคร
ขอนแก่น เก็บตัวอย่างอากาศด้วยเครื่องแอนเดอร์เซนอิมแพคเตอร์ ชนิด 6 ชั้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึง
ธันวาคม พ.ศ. 2556พบว่า ค่าเฉลี่ยเชื้อราในอากาศสูงสุดที่ทิศตะวันออกระยะ 500 เมตร มีค่าเท่ากับ
3,724.50±2.98CFU/m3รองลงมาคือ ทิศตะวันตกที่ระยะ 500 เมตร 2,190.74±4.51 CFU/m3ทิศใต้ที่
ระยะ 100 เมตร1,852.36±3.18 CFU/m3 และทิศเหนือที่ระยะ 50 เมตร 1,292.54±9.07 CFU/m3
ตามลาดับ พบค่าเฉลี่ยแต่ละทิศ ดังนี้ ทิศเหนือมีค่าสูงสุดที่ระยะ 50 เมตร เท่ากับ 1,292.54±9.07 CFU/m3
รอ งลงมาคือ 100, 500 แ ละ 300 เมตร เท่ากับ 1,196.36±5.59, 995.74±3.23 แ ละ 820.83±5.94
CFU/m3 ตามลาดับ ทิศตะวันออก พบความเข้มข้นเชื้อราในอากาศสูงสุดที่ระยะห่าง 500 เมตร เท่ากับ
3,724.50±2.98 CFU/m3 รองลงมา คือ 300, 100 และ 50 เมตร เท่ากับ 1,486.44±3.39, 1,280.58±4.28
และ1,010.79±4.19 CFU/m3 ตามลาดับ ทิศตะวันตก พบความเข้มข้นเชื้อราในอากาศสูงสุดที่ระยะห่าง
500 เมตร เท่ากับ 2,190.74±4.51 CFU/m3 รองลงมา คือ 50, 100 และ 300 เมตร เท่ากับ 1,873.32±
3.58, 1,746.22±4.03 และ 1,427.47±5.23 CFU/m3 ตามลาดับ และทิศใต้พบความเข้มข้นเชื้อราในอากาศ
สูงสุดที่ระยะห่าง 100 เมตร เท่ากับ 1,852.36±3.18 CFU/m3 รองลงมา คือ 50, 500 และ 300 เมตร
เท่ากับ 1,797.53±2.96, 1,557.29±6.16 และ 1,165.75±4.72 CFU/m3 ตามลาดับและจุดควบคุม (Control
point) ที่ระยะห่าง 3,000 เมตร จากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยพบมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 387.57±7.75 CFU/m3
พบว่า ค่าความเข้มข้นเชื้อราในอากาศแต่ละระยะห่างใน 4 ทิศ สูงกว่าจุด Control ทั้งหมด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07