การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์สำหรับปั๊มประเภทหอยโข่งในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ

Main Article Content

Wisarut Polhong
Jitra Rukijkanpanich

บทคัดย่อ

ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษมีการใช้ปั๊มประเภทหอยโข่งเป็นจำนวนมาก เมื่อปั๊มเกิดเหตุขัดข้องจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก ดังนั้นการบำรุงรักษาปั๊มจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดการเกิดเหตุขัดข้องลง แม้ว่ามีการใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันของปั๊มแต่ยังพบการเกิดเหตุขัดข้องของปั๊มอยู่ มีสาเหตุมาจากการกำหนดระยะเวลาในการตรวจเช็คและบำรุงรักษาไม่สัมพันธ์กับตัวแปรหลัก 3 ตัว ได้แก่ ระดับความสำคัญ อายุการใช้งาน และภาระงานของปั๊มในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็คสภาพปั๊ม โดยใช้การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์ค่าความสั่นสะเทือนเพื่อช่วยแสดงสถานะของปั๊มและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสั่นสะเทือนกับตัวแปรทั้งสาม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยดังนี้ 1) จัดกลุ่มของปั๊ม แยกตามระดับความสำคัญอายุการใช้งานและภาระงาน 2) ทำการวัดค่าความสั่นสะเทือนของตลับลูกปืนแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่าความสั่นสะเทือนเพื่อพยากรณ์หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็คสภาพปั๊ม 3) ดำเนินการตรวจเช็คสภาพปั๊มตามระยะเวลาที่ได้พยากรณ์ไว้ เมื่อพบว่าปั๊มมีแนวโน้มเกิดเหตุขัดข้องก็จะทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 4) ทำการประเมินผลการดำเนินงานจากค่าเฉลี่ยของเวลาระหว่างเกิดการขัดข้อง (MTBF) และค่าเฉลี่ยของเวลาตั้งแต่เกิดการขัดข้องจนใช้งานได้ (MTTR) ผลการดำเนินงานพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็คสภาพปั๊มทุก 7 วัน ทุก 15 วัน และทุก 30 วัน เมื่อทำการตรวจระยะเวลาดังกล่าวและดำเนินการแก้ไขเมื่อพบว่ามีแนวโน้มการเกิดเหตุขัดข้อง ส่งผลให้ค่า MTBF ในหน่วยบำบัดน้ำเสีย มีค่าเพิ่มขึ้นถึง 724 ชั่วโมง (เพิ่มขึ้น 50.16%) และค่า MTTR ในหน่วยการฟอกเยื่อมีค่าลดลงถึง 12.02 นาที (ลดลง 13.19%)

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] P. Suwannadol and K. Vijitrapornpong, “Condition based maintenance,” Journal of Dockyard Navy, pp. 70–76, 2012 (in Thai).

[2] W. Na-oei, “Maintenance improvement of power plant in pulp and paper industry,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering Chulalongkorn University, 2009 (in Thai).

[3] A. U. Ganapathy and K. Sainath, “Vibration analysis a key for pump maintenance-case study,” Journal of Modern Engineering Research, vol. 4, no. 3, pp.58–64, March, 2014.

[4] N. Raorung-a-roon, “Efficiency improvement of wire-bonding-machine maintenance system using predictive maintenance,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering Chulalongkorn University, 2008 (in Thai).

[5] G. Suresh Babu and V. Chittaranjan Das, “Condition monitoring and vibration analysis of boiler feed pump,” Journal of Scientific and Research Publications, vol. 3, no. 6, June, 2013.

[6] C. I. Ugechi, E. A. Ogbonnaya, M. T. Lilly, S. O. T. Ogaji, and S. D. Probert, “Condition-based diagnostic approach for predicting the maintenance requirements of machinery,” Scientific Research, no. 1, pp.177–187, 2009.

[7] R. O. Saied, M. S. Mostafa, and H. A. Hussein, “Predictive maintenance program based on vibration monitoring,” Design and Modeling of Mechanical System -II, Lecture Notes in Mechanical Engineering, pp.651–660, 2015.

[8] P. K Behera and B. S Sahoo, “Leverage of multiple predictive maintenance technologies in root cause failure analysis of critical machineries,” in Proceedings 12th International Conference on Vibration Problems (ICOVP), pp. 351–359, 2015.

[9] S. Siasiriwattana, W. Chiangkul, and K. Dumrongrat, Efficacy of Maintenance. Bangkok: Se-education, 2006 (in Thai).

[10] R. S. Beebe, Predictive Maintenance of Pumps Using Condition Monitoring, Elsevier Science & Technology Books, 2004.