การประเมินความเสี่ยงโดยกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

Pimpa Buapim
Arroon Ketsakorn

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีรูปแบบการศึกษาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยบูรณาการกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (Fault Tree Analysis) และกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น(Analytic Hierarchy Process) ของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 8 แห่ง ช่วงเวลาในการศึกษาเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560–เมษายน พ.ศ. 2561 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีลักษณะการทำงาน 4 กระบวนการ คือ 1) การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ 2) การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ 3) การขนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ และ 4) การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นมาพิจารณาหาค่าน้ำหนักความสำคัญของการเกิดเหตุการณ์อันตรายเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงผลการวิจัย พบว่ามี 4 กระบวนการ คือกระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อ และกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมากในกิจกรรมการไม่ปฏิบัติตามวิธีการทำงานมี 3 กระบวนการ คือ กระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อและกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงในกิจกรรมการไม่มีภาชนะในการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ การใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไม่เหมาะสม และเตาเผาที่ใช้ในกำจัดมูลฝอยติดเชื้อไม่มีการควบคุมอุณหภูมิในการเผาตามลำดับ และระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คือ ไม่มีผู้กำกับการดูแลปฏิบัติงาน ได้แก่ กระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อ และที่พักมูลฝอยติดเชื้อไม่มีอาคารเก็บรวบรวมเฉพาะมีลักษณะง่ายต่อการแพร่เชื้อของกระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ต้องได้รับความร่วมมือของบุคลากรในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน ตลอดจนผู้บริหารต้องมีนโยบาย และมาตรการในการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

References

[1] Department of Health, Infectious Medical Waste Management, Nonthaburi: Buddhapress, 2014 (in Thai).

[2] US Environmental Protection Agency. (2013, December). Medical-Waste. United States Environmental Protection Agency [Online]. Available: http://www.epa.gov/osw/nonhaz/industrial/medical/index.htm

[3] World Health Organization. (2018, March). Healthcare waste. WHO Headquarters. Avenue Appia, Geneva [Online].Available: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/health-care-waste

[4] Pollution Control Department Infectious Medical Waste (2017, November). Infectious waste volume. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Bangkok. Thailand [Online]. Available:http://www.onep.go.th/env_data/wp-content/uploads/2016/08/56.pdf

[5] N. Limnios, Fault Tree, Wiltshire: ISTE Ltd, 2007.

[6] W. E. Vesely, F. F. Goldberg, and N. H. Roberts, Fault Tree Handbook, 1st ed., Washington, DC, U.S. Nuclear Regulatory Commission, 1981.

[7] K. C. Hyun, S. Min, H. Choi, J. Park, and I. M. Lee, “Risk analysis using fault-tree analysis (FTA) and analytic hierarchy process (AHP) applicable to shield TBM tunnels,” Tunnelling and Underground Space Technology, vol. 49, pp. 121–129, 2015.

[8] A. Lindhe, L. Rosen, T. Norberg, T. J. Pettersson, O. Bergstedt, J. Astrom, and M. Bondelind “Integrated risk analysis from source to tap: Case study Göteborg,” in proceedings of the 6th Nordic Drinking Water Conference, Oslo, 2008, pp. 231–241.

[9] H. U. Jian, C. Junying, L. Jiahong, and Q. Dayong, “Risk identification of sudden water pollution on fuzzy fault tree in beibu-gulf economic zone,” Procedia Environmental Sciences, vol. 10, pp. 2413–2419, 2011.

[10] D. Makajic-Nikolic, N. Petrovic, A. Belic, M. Rokvic, J. A. Radakovic, and V. Tubic, “The fault tree analysis of infectious medical waste management,” Journal of Cleaner Production, vol. 113, pp. 365–373, 2016.

[11] C. Kongphet, “An application of the analytic hierarchy process for supplier selection in lens and camera manufacturer,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering Thammasat University Bangkok, 2016 (in Thai).

[12] N. Wichapa and P. Khokhajaikiat, “Solving multi-objective facility location problem using the fuzzy analytical hierarchy process and goal programming: A case study on infectious waste disposal centers,” Operations Research Perspectives, vol. 4, pp. 39–48, 2017.

[13] C. C. Ho and C. J Liao, “The use of failure mode and effects analysis to construct an effective disposal and prevention mechanism for infectious hospital waste,” Waste Management, vol. 31, no. 12, pp. 2631–2637, 2011.

[14] A. Dakkoune, L. Vernieres-Hassimi, S. Leveneur, D. Lefebvre, and L. Estel, “Risk analysis of french chemical industry,” Safety science, vol. 105, pp. 77–85, 2018.

[15] G. C. Subramanian, M. Arip, and T. S. S. Subramaniam, “Knowledge and risk perceptions of occupational infections among health-care workers in Malaysia,” Safety and Health at Work, vol. 8, no. 3, pp. 246–249, 2017.

[16] Startegy and Planning Division, Star Hospital Health Promotion, Nonthaburi: Buddhapress, 2016 (in Thai).