วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok)

เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาปัตยกรรม และวิชาการขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความบรรณาธิการปริทัศน์ที่เขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ

วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ

  • ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม
  • ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน
  • ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน
  • ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม

วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้

  • เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับให้เป็นวารสารระดับชาติและเป็นวารสารสำหรับการพิจารณาผลงานตีพิมพ์ เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. ในหลักสูตรกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก

 

สถิติการพิจารณา

จำนวนวันเฉลี่ยในการพิจารณาเบื้องต้น : 7-10 วัน

จำนวนวันเฉลี่ยในการรับพิจารณา-ตอบรับตีพิมพ์: 60-90 วัน

อัตราการยอมรับตีพิมพ์ในปี 2566 : 48%

 

การเก็บเงินค่าดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย

การจัดเก็บค่าดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดเก็บเมื่อบทความได้รับการอนุมัติตีพิมพ์แล้วเท่านั้น รายละเอียดดังนี้

1. ผู้นิพนธ์ประสานงาน ที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวนเงินไม่เกิน 4,000 บาท ต่อหนึ่งบทความ
2. ผู้นิพนธ์ประสานงาน ที่เป็นนักศึกษาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยจำนวนเงินไม่เกิน 3,000 บาท ต่อหนึ่งบทความ

 

กระบวนการพิจารณา (Peer Review Process)

วารสารวิชาพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน โดยทั้งผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมิน (Reviewer) จะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อของกันและกัน (Double-blind review) โดยที่ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญของแต่ละบทความดังต่อไปนี้

1. ผลการวิจัยที่แสดงในบทความจะต้องเป็นผลงานที่แท้จริงของผู้นิพนธ์เอง และต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

2. วิธีการและการวิเคราะห์ทางการทดลอง และวิจัยต้องมีมาตรฐานทางเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และจะต้องอธิบายในรายละเอียดอย่างเป็นระบบและสมเหตุสมผล นอกเหนือจากนี้แล้ว การเขียนผลการทดลองจะต้องอภิปรายอย่างดีและเพียงพอ สอดคล้องกับผลสรุปที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงสถิติอย่างเหมาะสม

3. การอภิปรายผลและการสรุปในบทความ ต้องมีข้อมูลที่ปรากฏรวมถึงเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเขียน บทความที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ควรจะถูกเขียนด้วยภาษาที่สามรถเข้าใจได้ง่ายทางวิชาการให้เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. บทความต้นฉบับ ต้องเขียนด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้มีความคงที่ของภาษาที่เลือกทั้งบทความ เช่น เลือกใช้ภาษาไทยในการเขียนทั้งบทความ และมีการแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยอย่างเหมาะสม โดยมีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

5. รวมทั้งมีความต่อเนื่องในการใช้ภาษางานวิจัยต้องดำเนินการตามได้มาตรฐานโดยทั่วไปของหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์ควรบ่งชี้ว่า ได้ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

6. บรรณาธิการสามารถยุติการประเมินบทความของผู้ประเมิน หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือเงื่อนไข หรือเมื่อผู้ประเมินได้ตกลงที่จะประเมินบทความแล้ว ต่อมาพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแจ้งบรรณาธิการโดยทันที เพื่อที่จะปฏิเสธการประเมินบทความนั้นต่อไป

 

สำหรับรายงานความเห็นผู้ประเมินบทความควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่

1. ผลงานวิจัยมีความริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ซ้ำซ้อนกับงานที่ตีพิมพ์มาแล้ว และมีมาตรฐานทางวิชาการ
2. ทำการวิเคราะห์ว่าบทความมีการค้นพบใหม่ด้านใดหรือไม่ บทความมีการอ้างอิงเอกสารหรือบทความที่ตีพิมพ์แล้วที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการสนับสนุนเนื้อความและผลการวิเคราะห์หรือไม่
3. ผู้อ่านกลุ่มใดที่จะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความและตรงตามกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านของวารสารหรือไม่
4. บทความถูกเขียนมาด้วยภาษาทางวิชาการที่มีการเรียงลำดับเนื้อเรื่องตามหลักตรรกะ และภาษาที่อ่านง่าย เข้าใจ และมีส่วนใดของการเขียนที่ควรปรับปรุงหรือไม่
5. การบรรยายผลการทดลองเพียงพอที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์และสรุปผลการทดลองหรือไม่ หากไม่เพียงพอควรทำการปรับปรุงอย่างไร
6. บทความที่ประเมินสามารถนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยได้หรือไม่
7. การบรรยายส่วนของวิธีการทดลองในบทความเพียงพอที่จะสามารถทำการทดสอบซ้ำ หรือพิสูจน์ความถูกต้องของการทดลองหรือไม่