การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสด

Main Article Content

Buratuch Chotchuang
Teravuti Boonyasopon
Preeda Attavinijtrakarn

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสด มีวัตถุประสงค์เพื่อ:1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสด 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสด และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจร้านค้ากาแฟสด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจร้านกาแฟสดแบบครบวงจรมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 20 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการทำวิจัยและเนื่องจากธุรกิจ กาแฟเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีมูลค่าทางการตลาดอย่างมาก แต่มีอัตราการประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจกาแฟน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันทางการตลาดมีสูงมาก และความได้เปรียบด้านเงินทุนและการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่ขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจอยู่รอดยาก ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านค้ากาแฟสดให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนได้นั้นควรใช้รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจกาแฟเรียกว่า “มงกุฎแห่งความสำเร็จ 10P” (Objective Collaboration & Key Result; OCKR) โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม ซึ่งเห็นชอบกับรูปแบบการบริหารธุรกิจแบบ 10P ดังกล่าว หลังจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์องคป์ ระกอบ และวัดระดับความน่าเชื่อถือตามหลักสถิติ และทำการแบ่งระดับวิเคราะห์แยกแยะเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยหลัก และปัจจัยย่อยจึงได้มาซึ่งระบบการบริหารจัดการ “มงกุฎแห่งความสำเร็จ 10P” ประกอบด้วย 1) People (บุคลากรภายในองค์กร) 2) Perspective (ทัศนคติ ภาพลักษณ์ตัวตนองค์กร) 3) Product (สินค้า) 4) Philosophy (ปรัชญาองค์การ) 5) Performance (ประสิทธิภาพ) 6) Place (ทำเลที่ตั้ง) 7) Promotion (การส่งเสริมการขาย) 8) Price (ราคา การสร้างมูลค่าเพิ่ม) 9) Perception (ความเข้าใจ แนวคิด) และ 10) Personality (บุคลิกภาพบุคลากรในองค์กร) ทั้งนี้ เพื่อทำให้การบริหารจัดการธุรกิจร้านค้าการแฟสดบรรลุตามเป้าหมาย ทำให้เกิดความได้เปรียบทางด้านต้นทุนและความได้เปรียบทางด้านความแตกต่างนอกจากนี้ รูปแบบการบริหารจัดการ “มงกุฎแห่งความสำเร็จ 10P” พบว่า ปัจจัยแต่ละด้านทั้งปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีและมีความร่วมมือทำงานเป็นทีมอย่างเข้มแข็ง Objective Collaboration & Key Result (OCKR) และผปู้ ระกอบการสามารถลดช่องว่างความสูญเสยี ระหว่างปัจจัยในแต่ละด้านของ 10P ได้มากเท่าไร ประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจร้านค้ากาแฟสดจะดียิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้วิจัยได้นำรูปแบบการบริหารที่ได้พัฒนาแล้วมาจัดทำเป็นคู่มือการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการร้านกาแฟสดเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] Department of Business, “Coffee production business,” Development Ministry of Commerce. Bangkok, Thailand, January, 2019.

[2] C. Jittaruttha, Organizational Theory : Philosophy, Paradigm and Concept. Bangkok: Chulalongkorn University Textbook Publishing Center, 2018, pp. 119–120.

[3] J. Rassmithammachote, Organization Development and Change. Bangkok: Thunwa 4 Arts Co., Ltd., 2015, pp. 86–98.

[4] P. Isaraphakdi, Branding 4.0. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd., 2018 (in Thai).

[5] T. Boonyasopon, Principle of Industrial Business Management. Bangkok: KMUTNB Textbook Publishing Center, 2019 (in Thai).