รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม

Main Article Content

Pariyasut Wattanathum
Somnuk Wisutthipat
Taweesak Roopsing
Preeda Attawinijtrakan

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเป็นผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมและเพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม โดยเป็นการวิจัย และพัฒนาตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 10 ราย และการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 ท่าน การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เพื่อวิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ในการประมวลผลเพื่อหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Step Wise Multiple Regression Analysis) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพในการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 18 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักด้านทักษะการปฏิบัติงานประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ นโยบายการพัฒนาผู้ควบคุมคุณภาพ บทบาทหน้าที่ผู้ควบคุมคุณภาพที่ชัดเจน เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจน การทำงานเป็นทีม เจตคติที่ดีในตำแหน่งผู้ควบคุมคุณภาพ 2) องค์ประกอบหลักด้านบทบาทการจัดการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ความซื่อสัตย์รับผิดชอบและจรรณยาบรรณวิชาชีพ การประสานงานกับพนักงานฝ่ายอื่น มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีอำนาจตัดสินใจในการตรวจสอบ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3) องค์ประกอบหลักด้านความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับกับงานของผู้ควบคุมคุณภาพ ประสบการณ์ในการทำงานที่ต่อเนื่อง ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานในการผลิตหม้อน้ำ หลักสูตรฝึกอบรมที่ใช้ในการพัฒนาผู้ควบคุมคุณภาพ การคิดวางแผนจัดการปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ ผู้ควบคุมคุณภาพได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลการประเมินรูปแบบจากการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ พบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปรับใช้กับสถานประกอบการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] Rachakitja, “Safety Rules for Boiler and Pressure Vessel in Factory,” vol. 123 S.65, 2006 (in Thai).

[2] Safety Technology Bureau, “Training Document: Boiler Supervisor,” Department of Industrial Works, Bangkok, Thailand, 2003 (in Thai).

[3] S. Wongthongdee, Human Resource Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2013 (in Thai).

[4] K. Anuroj. (2015, October). Human Resource Development. Bangkok, Thailand [Online]. Avilable: http://www.researchers.in.th

[5] D. Hellriegel, S.E. Jackson, and J.W. Slocum, Management: A Competency-Based Approach, 9th ed. Mason, OH, United States: Cengage Learning, Inc, 2005.

[6] P. Wongsarasri, Human Resource Management, 5th ed. Bangkok: Rajchabhat Suan-Dusit University Book Center, 2009 (in Thai).

[7] H. Wang, A. S. Tsui, and K. R. Xin, “CEO leadership behaviors, organizational performance, and employees’ attitudes,” The Leadership Quarterly, vol. 22, no. 1, pp. 92–105, 2011.

[8] A. Taghipour and Z. K. Dezfuli, “Innovative behaviors: Mediate mechanism of job attitudes,” Procedia Social and Behavioral Sciences, vol. 84, pp. 1617–1621, 2013.

[9] F. Herzberg, B. Mausner, and B. Synderman, The Motivation to Work. New York : JohnWiley and Sons, Inc, 1959.

[10] A. H. Maslow, Motivation and Personality. New York: Harper and Row, 1954.

[11] J. Pinthapataya, S. Yuphong, P. Attavinijtrakarn, and A. Poolkrajang, “Potential model development for chief crew flight attendants of Thailand’s aviation business for competitiveness,” The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, vol. 28, no.1, pp. 217–227, 2018 (in Thai).

[12] Y. Srithammarat, The Personnel Management in Government Unit. Bangkok: Thammasat University, 1998 (in Thai).

[13] I. Nonaka. Management of Knowledge Creation. Tokyo: Nihon Keizai Shinbun-sha, 1990.

[14] L. M. Spencer and S. M. Spencer. Competence at work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Son, 1993.

[15] P. Jumpasri, “Relationship between work values of supervisor on the viewpoint on salespersons and organizational loyalty: A case study of salespersons in Hafele (Thailand) limited,” M.S. thesis, Department of Humanities, Faculty of applied arts, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2013 (in Thai).