รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การมีส่วนร่วม (PAR) ของโรงเรียน และภาคีเครือข่าย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รวิพรรดิ พูลลาภ
  • กรรณิการ์ เทพกิจ
  • ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์
  • อนัญญา เหล่ารินทอง
  • วรัญญา มณีรัตน์
  • ขวัญหทัย ไชยอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2.เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การมีส่วนร่วมของโรงเรียน และภาคีเครือข่าย โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 396คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 2 ส่วน ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (CDI) ขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ประเมินภาวะซึมเศร้าของนักเรียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การมีส่วนร่วมของโรงเรียน และภาคีเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีภาวะซึมเศร้า สูงถึงร้อยละ 39.4 ทั้งนี้โรงเรียน และภาคีเครือข่ายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ร่วมกันสร้างแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพจิตเด็กนักเรียนขึ้น โดยใช้การมีส่วนร่วม (PAR) สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โรงเรียนสาธิตฯ และผู้ปกครอง ร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนลดปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียน 2.โรงเรียนสาธิตฯ จัดประชุมคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ โดยระบุปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนให้เป็นวางแผนเป็นนโยบายของโรงเรียน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมเพื่อลดปัญหาภาวะซึมเศร้า 3.ครูประจำชั้นติดตามพฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์ รวมถึงประเมินสุขภาพจิตของนักเรียนเทอมละ 1 ครั้ง 4.โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน มีกิจกรรมการโฮมรูม และการให้คำปรึกษา 5.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับโรงเรียน ปกครอง และครู เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมเรื่อง “การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับเด็ก” เพื่อลดภาวะกดดัน และความไม่เข้าใจ ซึ่งนำไปสู่บุคลิกภาพที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ 6.นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต จะทำการส่งต่อให้ทางมหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปข้อเสนอแนะโรงเรียนควรเร่งรัดการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้อย่างจริงจังและโรงเรียนควรจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานนโยบายวัตถุประสงค์/บทบาทหน้าที่การดำเนินงานและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ชัดเจน

References

Brown, S., Szapocznik, J., Spokane, A., Fals, D., Gambirazio, F., Zarate, M., & Mason, C.A.
(2004). Prevalence of cognitive impairment in a population-based study of urban
Hispanic elders in Miami, Florida [Abstract]. The Gerontologist, Special Issue I, 515.

Harden A, Rees R, Shepherd J, Brunton G, Oliver S, Oakley A (2001) Young people and
mental health: a systematic review of research on barriers and facilitators. London: EPPICentre, Social Science Research Unit,
Institute of Education, University of London

Khomduean Tosiri. (2007). Relationships between caregiver-child bonding, locus of control,
coping and depression in adolescents. Master thesis, M.N.S., Mahidol University.

จามรินทร์ วงศ์เทพเตียน. (2554). การแสดงออกทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กที่มีภาวะ
ซึมเศร้าชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.
สาขาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จักรี อย่าเสียสัตย์. (2556). ผลของการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน
ไทยเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนประถมศึกษา.Faculty of Education Vol 9, No
2 (2014).

ชัยพร วิศิษฎ์พงศ์อารีย์. (2557). ภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร.Vajira Medical Journal. Vol. 58 No. 3 September – December 2014

ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2541). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. ชานเมืองการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่
1, กรุงเทพฯ. 144 หน้า.

เรืองยศ อุตรศาสตร์. (2546).การศึกษาการดาเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่
ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วรรณวิไล กมลกิจวัฒนา.(2544). ความชุกของปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์ เสนวิรัช. (2556). แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนโรงเรียนกาวิละอนุกูล
อำเภอเมืองเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระบัณฑิตวิทยาลัย ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. (2539). อาการซึมเศร้าในเด็ก: การศึกษาโดยใช้
Children’s Depression Inventory. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539: 41(4): 221-230.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite