การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

ผู้แต่ง

  • Benjamas Puttima

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวินิจฉัย, วิชาคณิตศาสตร์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำตอบผิดและจุดบกพร่องในการคูณและการหาร  เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การคูณและการหาร เพื่อวิเคราะห์สถิติพื้นฐานของแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การคูณและการหาร และ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การคูณและการหารประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสำรวจหาจุดบกพร่อง แบบทดสอบวินิจฉัย และแบบประเมินประสิทธิภาพ  ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลการวิเคราะห์คำตอบผิดและจุดบกพร่องจากการทดสอบเพื่อสำรวจ เรื่อง การคูณ พบว่า มีความบกพร่องในเรื่องการเดาคำตอบ การดูโจทย์ผิดการบวกเลขผิดการลืมทดเลขการคูณเลขไม่ครบหลักการสลับเครื่องหมายคูณกับหารการท่องสูตรคูณผิดการวางผลคูณสลับตำแหน่ง และการนำโจทย์มาตอบ เรื่อง การหาร พบว่า มีความบกพร่องในเรื่องการเดาคำตอบการดูโจทย์ผิดการลบเลขผิด การท่องสูตรคูณผิดการตัดเศษทิ้งการดูเครื่องหมายผิดการนำโจทย์มาตอบ การนำตัวตั้งมาตอบ การนำตัวหารมาตอบ และการสลับเครื่องหมายคูณกับหาร และผลการวิเคราะห์หาจุดบกพร่องของแบบทดสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย โรงเรียนที่ 1 ข้อพบพร่องที่พบมากที่สุดคือการดูโจทย์ผิด การท่องสูตรคูณผิด การลบเลขผิด และการเดาคำตอบ โรงเรียนที่ 2 ข้อพบพร่องที่พบมากที่สุดคือ การเดาคำตอบการวางผลคูณผิดตำแหน่ง การคูณเลขไม่ครบหลัก การดูโจทย์ผิด

การบวกเลขผิด การดูเครื่องหมายผิด การท่องสูตรคูณผิด การลบเลขผิด การนำโจทย์มาตอบและโรงเรียนที่ 3ข้อบกพร่องที่พบมากที่สุดคือ การสลับเครื่องหมายคูณกับหารการนำโจทย์มาตอบ การดูโจทย์ผิด การท่องสูตรคูณผิด การดูเครื่องหมายผิด ตามลำดับ

  1. ค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก ของข้อสอบในแบบทดสอบวินิจฉัยทั้ง2ฉบับมีค่าความยาก ตั้งแต่0.24-0.69 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่0.22-0.82 และค่าอำนาจจำแนกรายตัวเลือกของข้อสอบในแบบทดสอบวินิจฉัยทั้ง2ฉบับมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่0.18 ถึง0.64
  2. ค่าสถิติพื้นฐานของแบบทดสอบวินิจฉัยและค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่อง การคูณ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.028 และ เรื่องการหารมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.704 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.824 – 0.905
  3. การประเมินประสิทธิภาพ โดยภาพรวมแล้วแบบทดสอบวินิจฉัยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91               (gif.latex?\bar{X}=3.91,SD=0.78) หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านความปลอดภัยของระบบ (Security Test) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.06 (gif.latex?\bar{X}=4.06,SD=0.74) รองลงมาคือด้านประสิทธิภาพตามที่ต้องการ(Performance Test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 (gif.latex?\bar{X}=4.03,SD=0.85) และด้านความสามารถของระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน (Usability Test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 (gif.latex?\bar{X}=3.91,SD=0.37) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ.ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551.

กัญญาทวีทอง. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกับการสอนตามปกติ.การวิจัยทางการศึกษา,2539.
พิชิตฤทธิ์จรูญ. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์, 2545.

มุกดาอาลีมีนทร์. การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลและวิจัยการศึกษา) ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2548.

เรืองยศเรืองแหล่ม. การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์กศ.ม. (การวัดผลและวิจัยการศึกษา) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.

ศักดา จันทร์ประเสริฐ. การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงสารสนเทศของอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันฯ, 2544.
________. การศึกษาแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันฯ, 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite