กระบวนการพัฒนาชุมชนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านนาเวียง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • Jiranee Phanmool
  • Awae Masae

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านนาเวียง      อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาที่นำไปสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกชุมชน ซึ่งครอบคลุมลักษณะและระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในกระบวนการพัฒนา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของครัวเรือนในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลัก เสริมด้วยแนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน และการสัมภาษณ์รายบุคคลกับกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือน จำนวน 123 ครัวเรือน

ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาชุมชนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การศึกษาชุมชน 2) การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของชุมชน 3) การวางแผนโครงการพัฒนาชุมชน 4) การดำเนินงานพัฒนาชุมชน และ 5) การติดตามและประเมินผล สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชนโดยเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยมีคะแนนการเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนามากที่สุด สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับจิตสำนึกด้วยการตระหนักและยอมรับความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติโดยมีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากขึ้น ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับทำแล้วและจะทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับอยู่ดีกินดี

ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาชุมชนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความขัดแย้งในชุมชนที่ก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิด การขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ พัฒนาชุมชนที่เหมาะสม และคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ตลอดจนกระบวนการบริหารงานพัฒนาของชุมชนที่ดีพอ

มีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ 1) ควรพัฒนาด้านจิตใจของสมาชิกในชุมชนให้มีจิตสาธารณะ 2) ควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ 3) ควรสร้างแกนนำรุ่นใหม่เพื่อสานต่องานพัฒนาชุมชนในอนาคต

References

นพรัตน์ คล่องสารา. 2551. กระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิยาลัยราชภัฎพระนคร.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. 2550. แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: รำไทยเพรส.

พันตำรวจตรีอาคม บุตรวงศ์. 2549. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาบ้านคำหมี หมู่ 8 ตำบลหนองเหล่า อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

มนตรี กรรพุมมาลย์. 2539. การพัฒนาชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นการพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธพงศ์ สมร. 2551. การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน บ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชัย รูปขำดี. 2551. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาชุมชน. ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. ณดา จันทร์สม, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. 2549. การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ฟอร์เพซ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิริวรรณ วิโสจสงคราม. 2543. การพัฒนาชุมชนตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อภิชัย พันธเสน, บรรณาธิการ. 2552. วิเคราะห์นโยบายรัฐในระดับต่างๆ รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2540-2549). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชาญวิทย์ โพธิ์เจริญ. 2550. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

มณี จันทร์ไทย. 2546. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนชนบทของประชาชนในตำบลกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพัฒน์ วงศ์คำพันธ์. 2539. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตสุขาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตสุขาภิบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุดาหาร. ภาคนิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไสว เจริญศรี. 2551. แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน บ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite