ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้แต่ง

  • Preeya Pongsaparn
  • Kittisak Newrat
  • Suchart Leetrakul

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะ ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่21เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลรวม ทางตรงทางอ้อม ที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยใช้โมเดลลิสเรล ประชากรที่ใช้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ปีการศึกษา 2559 ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 516 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม แบ่งเป็นด้านพฤติกรรมการสอนของครูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เส้นทาง                     

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 3.94 ส่วนปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยสุด เท่ากับ 2.48 2. ผลการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดล เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ พบว่า χ2 = 64.23, df = 48, P = 0.059, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMR = 0.019, RMSEA = 0.028 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ เจตคติต่อการเรียน

References

กนกวรรณ เอี่ยมชัย. (2549). เอกสารประกอบคำสอนรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ขั้นสูง.
เชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง การนิเทศภายในโรงเรียนประถม
ศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตรถนอม บุญประกอบ. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2559). การศึกษาปัจจัยด้านจิตพิสัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

ฐิติยา วงศ์วิทยากูล. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

ณัฐพงศ์ วงศ์สุ่ย. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดขอนแก่น. (ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

ธีร์กัญญา โอชรส. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

ปรีชา โต๊ะงาม. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

พิทักษ์ วงแหวน. (2546). การศึกษาปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 จังหวัดศรีสะเกษ. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สำราญ มีแจ้ง. (2544). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทยซิ่งกรุ๊ฟ.

สุกัญญา มณีนิล. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีรูปแบบ
การเรียนแตกต่างกัน. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สืบค้นจาก ThaiLIS.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (ม.ป.ป.). ทำไมต้องทักษะในศตวรรษที่ 21 “21st Century Skills: Why?” “TEACH
LESS, LEARN MORE”. บทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นิสิตปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและ
การสอน รุ่น 5, สืบค้นจาก https://www.srn2.go.th/attachments/article/145/%E0%B8%A3%E0
%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2
%E0%B8%A1.pdf

สุธาสินี บัวแก้ว. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม. สืบค้นจาก ThaiLIS.

อดุลย์ ไพรสณฑ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของครูประถมศึกษา
ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการเป็นครูนักวิจัย. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

อมราพร สุรการ. (2555). การศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรเชิงสาเหตุของการปรับตัวของนักเรียนที่มีความ
สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. (ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite