ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 1

ผู้แต่ง

  • นันทภัค จันทร์สาห์
  • ประเวศ เวชชะ
  • พูนชัย ยาวิราช
  • ไพรภ รัตนชูวงศ์

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การพัฒนาครู, สมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพ, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาครู ช่วงปี 2556-2558 2) ศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ 3) ภาพอนาคตที่พึงประสงค์และความต้องการพัฒนา และ 4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ในปี 2560-2562 เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 33 คน ผู้ทรงคุณวุฒิการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาครู ช่วงปี 2556-2558 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ได้ดำเนินการพัฒนาใน 4 รูปแบบ คือ รูปแบบการประชุมสัมมนา รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ รูปแบบการศึกษาดูงาน และรูปแบบการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (2) โดยมีเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านสนับสนุนและฉุดรั้งการพัฒนาครู ได้แก่ นโยบาย (Policy) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Area Office) ผู้บริหารสถานศึกษา (Administrators) ครูผู้สอน (Teacher) หน่วยดำเนินการ (Units Operates) สิ่งแวดล้อม (Environment) (3) ภาพอนาคตที่พึงประสงค์และความต้องการพัฒนา คือ การพัฒนาครูที่มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ และ (4) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ใช้รูปแบบ 4C and D +1T คือ หลักสูตร (Curriculum) ความร่วมมือ (Cooperation) เนื้อหาหลักสูตร (Content) ความต่อเนื่องและเชื่อมโยง (Continuation) และมีฐานข้อมูล (Data base) โดยใช้เทคโนโลยี (Technology) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างประสิทธิภาพระบบพัฒนาบุคลากร, ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2556) “การประเมินโครงการ” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา
หน่วยที่ 7 หน้า 22 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาศึกษาศาสตร์

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย.
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์

สำนักทดสอบทางการศึกษา (2557) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปี การศึกษา 2555 บทสรุป และ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Trilling, B.,&Fadel, C. (2009).21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. California:
John Wiley & Sons.

Mcgregor, D. 1960. The Human Side of Enterprise. New York : Mcgraw – Hill.

Kaplan, Robert S and Norton,David P (2004) Strategy Maps. Massachusetts : Harvard Business
School Publishing Corporation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-02-2019

How to Cite