ผลการรักษาโรคเรื้อนกวางด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • สายฝน สมภูสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กันยานุช เทาประเสริฐ การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ยิ่งยง เทาประเสริฐ การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

เรื้อนกวาง, น้ำมันกระเบา, ยาชำระน้ำเหลือง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยอาสาสมัครโรคเรื้อนกวางด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงรายจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การตรวจประเมินลักษณะอาการข้อบ่งชี้ของโรคเรื้อนกวาง เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาตลอดจนการนัดหมายติดตามประเมินผลผู้ป่วยแต่ละรายอย่างต่อเนื่องจนครบ 1  ปี

                        ผลการศึกษาพบว่าโรคเรื้อนกวางทางการแพทย์แผนไทยมีอาการข้อบ่งชี้ 4 อาการได้แก่ 1) ผิวหนังเป็นแผลนูนหนาขึ้นเหนือผิวปกติและมีสีแดง  2) มีอาการคันตามผิวหนังที่เป็นปื้นเรื้อนกวาง 3) ผิวหนังบริเวณที่เป็นปื้นแผลมีเลือดหรือน้ำเหลืองซึม 4) ผิวหนังบริเวณที่เป็นปื้นแผลตกสะเก็ดเป็นสีขาว ซึ่งหลักในการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยการรักษาต้นเหตุของการเกิดโรคภายในร่างกายและการดูแลผิวหนังที่เป็นปื้นนูนหนา มีวิธีการรักษาโดยใช้ยากินชำระน้ำเหลืองและการใช้ยาทาน้ำมันกระเบา จากการติดตามประเมินผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยอาสาสมัครจำนวน 32 ราย แผลเรื้อนกวางหายเป็นปกติและไม่มีอาการกลับมากำเริบอีกภายใน 1 ปี กรณีผู้ป่วยที่มีบาดแผลเรื้อนกวางเฉพาะที่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์ และในกรณีผู้ป่วยที่บาดแผลเรื้อนกวางกระจายมากกว่า 1 แห่งของร่างกาย จะใช้ระยะเวลาในการรักษาสูงสุดไม่เกิน 24  สัปดาห์
ในการรักษาที่เห็นผลผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการรักษาอย่างเข้มงวด ได้แก่ การงดอาหารแสลงจำพวกหมักดอง การงดการแกะเกาและการขูดขีดบาดแผล รวมถึงการรักษาความสะอาดของร่างกาย

 

 

References

ยิ่งยง เทาประเสริฐและ กันยานุช เทาประเสริฐ. (บรรณาธิการ). (2547). ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา สาขาหมอยา.เชียงราย : วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองประกอบโรคศิลปะ. (2541). ตำรายาแพทย์แผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

________. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สระบุรี : บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.

สำนักงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ตำราการแพทย์แผนไทยในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ฉบับอนุรักษ์ เล่ม 3. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในบรมราชูปภัม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-08-2019

How to Cite