โคลงภาพยี่ปุ่น : บันทึกความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างญี่ปุ่นกับสยามประเทศ

ผู้แต่ง

  • วรี เรืองสุข
  • รัชดา ประณม
  • ลักคณา น้อยสว่าง

คำสำคัญ:

โคลงภาพ, ยี่ปุ่น, ความสัมพันธ์, ประวัติศาสตร์, สยามประเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาโคลงภาพยี่ปุ่น จากบันทึกเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างญี่ปุ่นกับสยามประเทศ จากเอกสาร ได้แก่ ประชุมพงศาวดาร ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน และจดหมายเหตุ โดยนำโคลงภาพต่างภาษาของ กรมขุนเดชอดิศร หรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร ทรงนิพนธ์ “โคลงภาพยี่ปุ่น” มาเป็นข้อสังเกตในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า “โคลงภาพยี่ปุ่น” แสดงให้เห็นถึงลักษณะของชาวญี่ปุ่น ถิ่นที่อยู่ วิถีชีวิต การแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ ความชำนาญในด้านงานช่างฝีมือ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นในสยามประเทศ จากหลักฐานประชุมพงศาวดาร พบว่า ในสมัยอยุธยา เครื่องราชบรรณาการที่สยามประเทศให้กับฝรั่งเศส ส่วนหนึ่งเป็นของที่ทำขึ้นโดยช่างฝีมือชาวญี่ปุ่น มีความประณีตงดงาม ในสมัยรัชกาล ที่ 5 มีทหารอาสาชาวญี่ปุ่น อยู่ในการตั้งกองรับเสด็จฯ และในสมัยรัชกาลที่ 5 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ระหว่างสยามประเทศกับญี่ปุ่น โดยมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่อกัน

References

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ดูจากสนธิสัญญาและข้อตกลงในรอบ 100 ปี. (2544). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ซาเตา, เออเนสต์ เมสัน. (2523). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 20 จดหมายเหตุเรื่องทางไมตรี ระหว่าง
กรุงศรีอยุธยากับกรุงญี่ปุ่น . แปลโดย หลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย ธนะสิริ). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์พระจันทร์.

นิยะดา เหล่าสุนทร, (บ.ก.). (2544). ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขและเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ:
คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน.

ประชุมพงศาวดารเล่ม 28 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 46 (ต่อ) -48) . (2511). พระนคร: องค์การค้าคุรุสภา.

โยเนะโอะ, อิชิอิ และโยชิกาวะ โทชิฮารุ. (2542). ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี. แปลโดย
มารศรี มิยาโมโต และอาทร ฟุ้งธรรมสาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ 5 เล่มที่ 4 จ.ศ.1249. (2549). กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศานติ ภักดีคำ. (บรรณาธิการ). (2552). จดหมายเหตุวัดพระเชตุพน สมัยรัชกาลที่ 1-4.
กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และมูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า"
ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักราชเลขาธิการ. (2536). หนังสือจดหมายเหตุฯ The Bangkok Recorder. กรุงเทพฯ:
สำนักราชเลขาธิการ. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมหมาย ฮุนตระกูล
ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 25 ธันวาคม 2536).

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2528). สดุดีบุคคลสำคัญ เล่ม 3. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการ
นายกรัฐมนตรี.

อรวรรณ เพชรพลอย. (2554). “ จารึกวัดโพธิ์ : มรดกความทรงจำแห่งโลก”. ศิลปากร, 54(6), 20-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-01-2020

How to Cite