โวหารวาทะเหมาเจ๋อตงกับการสืบผ่านคุณค่าแห่งคติจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร กองเส็ง

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, การฝึกอบรม, การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คติจริยธรรมในโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏจากวาทะของเหมาเจ๋อตงในหนังสือ “บันทึกถ้อยคำเหมาเจ๋อตง” (毛泽东语录) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า โวหารภาพพจน์ที่เหมาเจ๋อตงใช้นั้นสะท้อนคติจริยธรรมถึง 21 ประการ คือ (1) คุณธรรมห้าประการของขงจื่อ (ความพอดี มีเมตตา มารยาท สงบเสงี่ยม ใจกว้าง) (2) อย่าฟังความข้างเดียว (3) มีสติใคร่ครวญ (4) ขัดเกลาความคิด (5) ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว (6) การตายอย่างมีคุณค่า (7) พูดความจริงต่อมิตรอย่างจริงใจ (8) มีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กัน (9) เรียนรู้จากความล้มเหลว (ผิดเป็นครู) (10) รู้จักเป็นผู้ให้และใฝ่เรียนรู้ (11) ศึกษาให้รู้แน่แท้จริงแล้วลงมือปฏิบัติ (12) รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง (13) รู้ให้จริงรู้ให้รอบ (14) รู้จักรับฟังผู้อื่นและปรับปรุงพัฒนาตนเอง (15) อ่อมน้อมถ่อมตน ไม่ทะนงตนหยิ่งยโส (16) สู้กันซึ่งหน้า อย่าใช้วิธีสกปรก (17) กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง (18) เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (19) แก้ไขปัญหาทีละอย่าง (20) ขยันตั้งใจไม่ย่อท้อ และ (21) เตรียมพร้อมอยู่เสมอ ทั้งนี้ โวหารภาพพจน์หลายประเภทที่เหมาเจ๋อตงยกมากล่าวเปรียบเทียบนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความงามในการใช้สำนวนโวหารอุปมาอุปไมย และแนวคิดในการปลูกฝังอุดมการณ์แห่งการประพฤติปฏิบัติที่มีคุณค่าอันเป็นคติจริยธรรมที่สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างดียิ่ง

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2525). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

เกรียงไกร กองเส็ง. (2561). แบบเรียนภาษาจีนชุด “Hanyu Jiaocheng”《汉语教程》 : การสื่อสารเพื่อการ
ขัดเกลาให้เป็นคนดีมีคุณธรรม รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
และนานาชาติครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา. 365-376.

เฉินหรงหลิน. (2559). ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแปล “พจนานุกรมไทย-จีน” พินิจพิเคราะห์ร่วมกับคุณเธียรชัย
เอี่ยมวรเมธ. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9 (1), 171-201.

ถนอม ชาภักดี. (2558). การสถาปนาพื้นที่ทางศิลปะในบริบทของชุมชนเมือง กรณีศึกษาการเปลี่ยนผ่าน
จากโรงงานสู่พื้นที่ทางศิลปะ 798 กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรม
และศิลปะ, 16 (2), 121-138.

บุปผา บุญทิพย์. (2547). การเขียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2525). ศิลปะการเขียนชุดพื้นฐานของการใช้ภาษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : วิชาการ.

ภัทรมน สุวพันธุ์. (2556). วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ รากฐานทางปรัชญาและคุณูปการในการเปลี่ยนแปลง
สังคม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2 (1), 73-97.

ศิริพร ดาบเพชร. (2560). แนวคิดผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงของจีนในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมและสมัยปฏิรูป.

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม), 20, 261.

ศุภรางศ์ อินทรารุณ. (2545). ภาพพจน์ในชีวิตประจำวัน. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 9 (11-12), 98-112.

สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนทางวัฒนธรรม
ผ่านสำนวนไทย จีน และอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์.
สุนทรี ดวงทิพย์. (2558). การศึกษาวิเคราะห์วรรณศิลป์ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนูมิเตอร์. สักทอง :
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 21 (2), 67-81.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ : ส เจริญการพิมพ์.

China Emblem PLA.svg . (1966). 中国人民解放军总政治部《毛泽东语录》第二重印,
北京:人民出版社.

Chinese Academy of Social Sciences, CASS. (2012). 中国社会科学院语言研究所词典编
辑室.《现代汉语词典》(第 6 版),北京:商务印书馆.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2020

How to Cite