https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/issue/feed วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2023-12-25T12:36:29+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.องอาจ อินทนิเวศ [email protected] Open Journal Systems <p> วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม ชุมชนหรือท้องถิ่น โดยรับตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ได้แก่ </p> <p style="text-align: left;">- บทความวิจัย (Research Article)<br />- บทความวิชาการ (Academic Article)<br />- บทความปริทัศน์ (Review Article)<br />- บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) </p> <p> โดยเนื้อหาในบทความแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ทางวิชาการให้เกิด ประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ สังคมหรือท้องถิ่นทั้งในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ<span style="text-decoration: underline;"><strong>โดยเปิดรับพิจารณาบทความตลอดทั้งปี</strong></span></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ </strong>วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ</p> <p style="text-align: left;">ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p style="text-align: left;"><strong>หมายเลขวารสาร ISSN (Online) : </strong>2697-5017</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/265792 การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว สำหรับเยาวชนและประชาชน จังหวัดเชียงราย 2023-09-26T09:19:59+07:00 สุดาพร ปัญญาพฤกษ์ [email protected] ปรมินทร์ อริเดช [email protected] วิทยา พูลสวัสดิ์ [email protected] ไอลดา มณีกาศ [email protected] เพ็ชรสวัสดิ์ กันคำ [email protected] ศศิพัชร์ หาญฤทธิ์ [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย 2) ประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย การศึกษาวิจัย มี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มทดลองใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน คือ เยาวชนใน 11 อำเภอ จังหวัดเชียงราย จำนวน 563 คน กลุ่มผู้ประเมินการใช้หลักสูตร คือ เยาวชน จำนวน 563 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ส่วนที่ 2 การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มทดลองใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน คือ ประชาชนใน 5 อำเภอ จังหวัดเชียงราย จำนวน 199 คน และกลุ่มผู้ประเมินการใช้หลักสูตร คือ ประชาชน จำนวน 199 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้<br />1. ผลประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย พบว่า <br /> 1.1 ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร มี 9 องค์ประกอบ มีความครอบคลุม เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของจังหวัดเชียงราย <br /> 1.2 ด้านกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า มีการผสมผสานบูรณาการความรู้กับ การนำไปสู่การใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติ <br /> 1.3 ด้านผลการใช้หลักสูตร เยาวชนมีคะแนนทดสอบความรู้หลังใช้หลักสูตรสูงขึ้น มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมหลักสูตร โดยรวมในระดับมาก และจากการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า เยาวชนมีความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ<br />2. ผลประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย พบว่า <br /> 2.1 ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร มี 9 องค์ประกอบ มีความครอบคลุม และมีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดเชียงราย และการนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิตของประชาชน<br /> 2.2 ด้านกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า มีบูรณาการความรู้กับประสบการณ์ตรง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการใช้ประสบการณ์ตรงและบูรณาการความรู้สู่การนำไปใช้<br /> 2.3 ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมหลักสูตร โดยรวมในระดับเห็นด้วยมาก และ ในการสังเกตการปฏิบัติตนในการฝึกซ้อมอพยพ ก่อนการฝึกซ้อมประชาชนบางส่วน ยังมีความเข้าใจ ในการเอาตัวรอดที่คลาดเคลื่อน ส่วนประเด็นที่ประชาชนสนใจคือ การสร้างบ้านเรือนที่ปลอดภัย เมื่อเกิดแผ่นดินไหว </p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/266343 ภูมิทัศน์ทางภาษาของชุมชนเมืองเอก รังสิต จังหวัดปทุมธานี 2023-10-17T12:20:53+07:00 นภัสสร ปลื้มสุทธิ์ [email protected] นครเทพ ทิพยศุภราษฏร์ [email protected] กรกฤช มีมงคล [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกภาษาบนป้ายธุรกิจการค้าและบริการ และเพื่อวิเคราะห์ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์บนป้ายธุรกิจการค้าและบริการที่ปรากฏในชุมชนเมืองเอก รังสิต จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ป้ายธุรกิจการค้าและบริการบริเวณถนนเอกทักษิณ (เมืองเอก) จำนวน 70 ป้าย จากนั้นนำข้อมูลมาคัดแยกประเภทของธุรกิจและบริการแล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ โดยประยุกต์แนวคิดด้านภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ ผลการศึกษาการจำแนกป้ายตามธุรกิจและบริการพบว่า มีป้ายธุรกิจสินค้าเพื่อการบริโภคมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ป้ายธุรกิจการบริการทางการแพทย์และความงาม ในส่วนของการศึกษาความหลากหลายทางภาษา พบว่าป้ายมี 3 รูปแบบ ได้แก่ ป้ายหนึ่งภาษา ป้ายสองภาษา และป้ายสามภาษา โดยป้ายสองภาษาที่มีภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 51.4 ด้านขนาดและความเด่นชัดของตัวอักษรพบว่า ตัวอักษรภาษาอังกฤษมีขนาดใหญ่และเด่นชัดมากที่สุด ด้านหน้าที่ของภาษาพบว่าภาษาที่ปรากฏบนป้ายทำหน้าที่เชิงข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าและบริการมากที่สุด รองลงมาเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการติดต่อ ส่วนหน้าที่เชิงสัญลักษณ์พบว่าป้ายที่ชื่อร้านไม่มีความสอดคล้องกับธุรกิจการค้าและบริการพบมากกว่าแบบชื่อร้านมีความสอดคล้องกับธุรกิจร้านค้าและบริการบางส่วน ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าชุมชนเมืองเอกเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภาษา เนื่องด้วยอยู่ใกล้สถาบันการศึกษาขนาดใหญ่หลายแห่งจึงทำให้เป็นแหล่งชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทั้งคนไทยและต่างประเทศ</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/266748 องค์ประกอบเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส 2023-11-27T10:53:41+07:00 กิตติพงษ์ มายา [email protected] รำพึง ยมศรีทัศน์ [email protected] อินท์ธีมา หิรัญอัครวงศ์ [email protected] ศันสนีย์ ทิมทอง [email protected] ศุภัคษร มาแสวง [email protected] ณนนท์ แดงสังวาลย์ [email protected] <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์เมืองสามรสเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบใช้แนวทางการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าอาหารพื้นถิ่นจังหวัดเพชรบุรีหรือการท่องเที่ยว ซึ่งพบว่ามีผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีความเชี่ยวชาญที่สอดคล้องกับโจทย์การวิจัย จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและเครื่องบันทึกเสียง จากนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงประเด็นเพื่อหาข้อสรุป ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์ เมืองสามรส ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 เรื่องเล่ารู้แหล่งที่มาของอาหารประกอบด้วยความปลอดภัยของอาหาร ระบบนิเวศของอาหาร และเรื่องเล่าเส้นทางการกิน องค์ประกอบที่ 2 เรื่องเล่าที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ประกอบด้วยตลาดเกษตรกร องค์ประกอบที่ 3 เรื่องเล่าอาหารสร้างแรงบันดาลใจในมิติของสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ประกอบด้วยมรดกทางอาหารและภูมิทัศน์อาหาร และองค์ประกอบที่ 4 เรื่องเล่ากรรมวิธีการทำอาหารและการออกแบบ ประกอบด้วยโภชนาการที่กล่าวถึงคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบพื้นถิ่น และอาหารสุขภาพ</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/267633 The Concept of Residential Design of Chinese Dong Nationality 2023-11-22T16:05:07+07:00 Junhao Lu [email protected] Pisit Puntien [email protected] <p>การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมของชาวต้งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตาม การเร่งการปรับปรุงให้ทันสมัย การตั้งถิ่นฐานและบ้านเรือนต้งแบบดั้งเดิมจำนวนมากได้รับการปรับปรุงโดยไม่รู้ตัว หรือมีการพัฒนาอย่างไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมต้ง เป็นทางหนึ่งที่นำไปสู่ความเข้าใจในการตกแต่งออกแบบภายในและภายนอกควบคู่ไปกับการสรุปผลไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ในการปกป้องและอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของต้ง ศึกษาทฤษฎีทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) ศึกษาสัญศาสตร์ของสถาปัตยกรรมประเพณีต้ง 2) ศึกษาประวัติศาสตร์ทุนทางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมประเพณีต้ง 3) ศึกษาแนวคิด หลักการและตรรกะเชิงสัญลักษณ์ของต้งเพื่อการออกแบบใหม่ 4) เพื่อออกแบบห้องตัวอย่างให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับความทันสมัย จากการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและการสาธิตการออกแบบแสดงให้เห็นถึงความหมายแฝงทางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมและการออกแบบบ้านที่ปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความยากในการสืบทอดทักษะทางสถาปัตยกรรมในการอนุรักษ์อาคารแบบดั้งเดิม การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนรุ่นใหม่ของชาวต้งและการแสวงหาวัฒนธรรมต่างประเทศอย่างไร้เหตุผล เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมต้งแบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว รัฐบาลท้องถิ่นสามารถชี้แนะและมีส่วนร่วมในการก่อสร้างหมู่บ้าน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านสถาปัตยกรรมประเภทต่าง ๆ สามารถแนะนำผ่านการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและวัสดุใหม่ ๆ ผ่านการบูรณาการสหสาขาวิชาชีพทำให้เกิดแผนการป้องกันและกลยุทธ์การพัฒนา รวมถึงปลูกฝังช่างฝีมือของอาคารแบบดั้งเดิม เพิ่มความภาคภูมิใจของชาติ และสร้างการพัฒนาอาคารแบบดั้งเดิมของชาวต้งที่ยั่งยืน เพื่อปกป้องและสืบทอดต่อไป</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/267794 The Application of Traditional Lacquer Carving Technology in Modern Product Design 2023-11-23T16:16:17+07:00 Junguo Zhao [email protected] Pisit Puntien [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางศิลปะและเทคโนโลยีของเทคนิคการแกะสลักเครื่องเขินแบบดั้งเดิมในสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิงในประเทศจีน และแสวงหาประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 2) เพื่อพัฒนาผลงานเชิงปฏิบัติในรูปแบบของการออกแบบเชิงทดลอง โดยมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอลักษณะและความสวยงามของเครื่องเขินแบบดั้งเดิม หาแนวทางแก้ไขปัจจัยทางเทคนิค ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจีนร่วมสมัย ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องเขินแกะสลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางศิลปะและเทคโนโลยีของเครื่องเขินแกะสลักแบบดั้งเดิมของจีน เพื่อนำไปใช้กับการออกแบบเครื่องประดับการออกแบบเครื่องเขียน และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และส่งเสริมศิลปะ เครื่องเขินแกะสลักรูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ที่สื่อถึงความเป็นตัวแทนของราชวงศ์หยวน หมิง และชิง โดยนำแนวคิดความงามแบบดั้งเดิมของนักออกแบบในสมัยโบราณมาผสมผสานกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสมัยใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสาร การสำรวจภาคสนามด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางเทคนิคในการปรับปรุงรูปทรงเครื่องเขินร่วมสมัยให้ทันสมัยคือ การพัฒนาวัตถุดิบที่ไม่สามารถหาทดแทนได้ เช่น เครื่องเขินยางรักดิบ ที่มีกระบวนการเคลือบที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานาน จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการเคลือบซึ่งไม่สามารถทดแทนได้ด้วยการใช้เครื่องจักรซึ่งเป็นปัญหาที่พบ ในการพัฒนาเครื่องเขิน การทำเครื่องเขินก็คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่ง โดยงานเคลือบเครื่องเขินในอดีตมุ่งเน้นการสร้างรูปแบบเชิงศิลปะ ดังเช่นงานหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ เพราะในการผลิตเครื่องเขิน สิ่งสำคัญที่สุดคือการแสดงเอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ <br />อย่างไรก็ตาม หน้าที่ด้านการใช้งานของตัวผลิตภัณฑ์ก็มีความสำคัญมาก การแยกหน้าที่ใช้สอยออกจากการใช้งานจริงจะทำให้สูญเสียแก่นแท้ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ไป ดังนั้นการมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเพื่อการใช้งานจริง การสร้างสรรค์งานเครื่องเขินจึงเป็นความต้องการและนำสู่แนวโน้มในการพัฒนาเครื่องเขินร่วมสมัย ในการประยุกต์เทคโนโลยีการแกะสลักเครื่องเขินสู่การออกแบบเครื่องใช้ไม่เพียงแต่จะเป็นการฟื้นคืนเสน่ห์ของการแกะสลักเครื่องเขิน การสืบสานวัฒนธรรมการแกะสลักเครื่องเขิน แต่ยังสามารถผสมผสานแนวคิดการออกแบบที่ทันสมัยได้อีกด้วย และเพื่อการจัดหาวัสดุและแนวคิดใหม่สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ที่สะท้อนถึงคุณค่าทางมรดกของงานฝีมือเครื่องเขินในการออกแบบผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ รวมถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณ และการใช้คุณค่าทางมรดกของการแกะสลักเครื่องเขิน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/264397 ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1: ผลจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยม 2023-04-11T11:47:31+07:00 วิทยา พูลสวัสดิ์ [email protected] ลือชา ลดาชาติ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาคณิตศาสตร์ จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจงด้วยเกณฑ์เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาหลักการทางคณิตศาสตร์หมู่เรียนที่ 2 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยม 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างตรวจสอบความเข้าใจและการสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์จากการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทางสถิติแบบนอนพาราเมตริก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการตีความเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น ทั้งการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย โดยการทดสอบทางสถิติบ่งชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (W = 0.000, z = 4.457, p &lt; .001 สำหรับการให้เหตุผลแบบอุปนัย และ W = 0.000, z = 4.457, p &lt; .001 สำหรับการให้เหตุผลแบบนิรนัย) ผลการสัมภาษณ์นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ สรุปได้ว่า นักศึกษาทุกคนสามารถบอกได้ว่าในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยรวมถึงสามารถบอกคุณลักษณะการให้เหตุผลทั้ง 2 แบบได้อย่างถูกต้อง</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย