ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมของเยาวชน

ผู้แต่ง

  • Pannathorn Chachvarat
  • Dolrudi Pechkwang

บทคัดย่อ

เยาวชนติดของเกมและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มมากขึ้น จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การติดเกมของเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละของเยาวชนติดเกมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา การวิจัยครั้งนี้
เป็นการสำรวจข้อมูลจากเยาวชนช่วงอายุ 13-18 ปี ที่มาใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ตในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 ข้อ ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านครอบครัว จำนวน 9 ข้อ ส่วนที่ 3 ข้อมูล
ด้านเพื่อนและสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ข้อ ส่วนที่ 4 การเล่นเกม จำนวน 53 ข้อ ประกอบด้วยตอนที่หนึ่ง
การติดเกม จำนวน 6 ข้อ ตอนที่สอง ความรู้เกี่ยวกับการเล่นเกม จำนวน 47 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
สถิติ ความถี่ และค่าร้อยละ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมของเยาวชน ด้วยสถิติ Chi-square
ผลการวิจัย พบว่า เยาวชนการติดเกม ร้อยละ 55.5 และผู้เล่นเกมมีความรู้เกี่ยวกับเกมถูกต้อง ในระดับมาก
ร้อยละ 59.3 และระดับปานกลาง ร้อยละ 39.3 สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกม พบว่า
ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศ ปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายของผู้เล่นเกมและปัจจัยด้านลักษณะนิสัย
สว่ นปจั จัยดา้ นครอบครัว ไดแ้ ก ่ ปจั จัยดา้ นความสัมพันธข์ องครอบครัวและปจั จัยดา้ นการเลี้ยงดูของครอบครัว
ปัจจัยด้านการติดเพื่อน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อกับการเล่นเกมและปัจจัยด้านความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับเกม
มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการติดเกม (p-value = 0.000-0.042) ส่วนปัจจัยด้านระดับ
การศึกษา การอาศัยของผู้เล่นเกม ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว/เดือน
และการได้ข้อมูลเกมออนไลน์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.087-0. 869)

References

กมลวรรณ คงทรัพย์. (2551). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียน.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2549). 10 วิธี
แก้เด็กติดเกม. แหล่งอ้างอิง www.badmintonthai.com สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2552.

ชาญวิทย์ พรนภดล. ปัจจัยที่สามารถป้องกันการติดเกมในกลุ่มเด็กและเยาวชน. แหล่งอ้างอิง
www.thaipost.net/x-cite-kidz/210309/2035 สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553

นพดล กรรณิกา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเกมออนไลน์
ในกลุม่ เด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาตัวอยา่ งเยาวชนที่เลน่ เกมออนไลนใ์ นเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล. แหล่งอ้างอิง www.abacpoll.au.edu สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553.

ปราการ ถมยางกูร. (2007). ปัญหาอาการติดเน็ท-เกม. แหล่งอ้างอิง http://www.dmh.go.th/news/
view.asp?id=1030. 27 Dec 07 @ SE Asia Standard Time

ปริศนา มัชฌิมา กาญจนา เผือกคง และสายหยุด ปั้นตระกูล. (2552). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ที่มีผลต่อเยาวชนไทย : กรณีศึกษาชุมชนสีคาม
กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต : กรุงเทพฯ

พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์. (2552). ผลสำรวจอินเทอร์เน็ต ปี 2552. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค).

พิเชษฐ์ รุ้งลาวัณย์. (2548). การศึกษาความต้องการด้านคุณธรรม จริยธรรมสำหรับหลักสูตร
ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ :
กรุงเทพฯ

พิมลพรรณ บุญยะเสนา และสุขุม พันธุ์ณรงค์. (2011). การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของเด็ก
และเยาวชนที่ติดเกมส์ : กรณีศึกษาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วารสาร
ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) Vol 3, No 5

ศิริไชย หงษสงวนศรี และพนม เกตุมาน. Game Addiction : The Crisis and Solution.

www.ramamental.com/medicalstudent สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554.

ศิริไชย หงษ์สงวนศรี โชษิตา ภาวะสุทธิไพสิฐ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2548). พฤติกรรม
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์และปัญหาการติดเกมในวัยรุ่น. นำเสนอในการประชุมวิชาการ
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยประจำปี 2548 กรุงเทพมหานคร 10-12 ตุลาคม 2548.

ศุทธฤทัย เชิญขวัญมา กัลยา ซาพวง เอกพันธ์ ฤทธา และเริงศักดิ์ บุญบันดาลชัย. (2546) การศึกษา
พฤติกรรมการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมนันทนาการ และการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2550). กรุงเทพมหานคร : เมืองสีเทาของเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2008). “เด็กติดเกม” ฝันร้ายพ่อแม่ยุคไซเบอร์.
แหล่งอ้างอิง www//thai-good-health.blogspot.com/2008/10/blog-post_14.html สืบค้นเมื่อ
วันที่ 14 ตุลาคม 2553.

Funk JB. Video games. Adolesc Med Clin 2005;16 : 395-411.

Markovitz JH, Raczynski JM, Wallace D, Chettur V, Chesney MA. Cardiovascular reactivity to
video game predicts subsequent blood pressure increases in young men : The
CARDIA study. Psychosom Med 1998;60 : 186-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite