องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Warinsee Yaothanee

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, การดำเนินงาน, ทูบีนัมเบอร์วัน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บทคัดย่อ

การวิจัยองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน (2) ศึกษาความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม(3) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน และ (4) ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วยแกนนำทูบีนัมเบอร์วัน ผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์ (Interview) และแบบสอบถามจำนวน 380 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้แก่ สูตรลับความสำเร็จในการดำเนินงานชื่อ M-Strong หมายถึง ชุดขององค์ความรู้ที่นำไปใช้ใน การดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน ประกอบด้วย M = mind หมายถึง ทำทูบีนัมเบอร์วันด้วยใจ มีความรักและความศรัทธาต่อองค์ประธานโครงการ S = Skill มีทักษะและการคิดอย่างสร้างสรรค์ T = Transfer มีการถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น R = Relationship การสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน การอยู่ร่วมกัน และมีเครือข่ายการทำงานO = Organize มีการทำงานอย่างเป็นระบบ N = Network มีการสร้างและพัฒนาเครือข่าย G = Grand งานที่ทำต้องประสบผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับความพึงพอใจใ นการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกทูบีนัมเบอร์วัน พบว่า กิจกรรมมีความน่าสนใจ อยากให้มีการจัดกิจกรรมขึ้นอีกมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมากิจกรรมทูบีนัมเบอร์วันทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคี ส่วนปัญหาในการดำเนินงานพบว่า แกนนำ มีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลาเรียนกับกิจกรรมไม่ตรงกัน ปัญหาการสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอต่อ การดำเนินงานนอกจากนี้ยังมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมพบว่า ควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามผลเป็นระยะ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

กมล รอดคล้าย. (2551). “ศธ.เผยนโยบายแก้เด็กติดยา เน้นกรองเด็กกลุ่มเสี่ยง-ฟื้นคุณธรรม”. ข่าวสด,
25 ธันวาคม 2551. หน้า 15.

กิตติมา ก้านจักร. (2556). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของ
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตร
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ทิพาภรณ์ ไพศาลนันท์. (2554). การมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน
ราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในโครงการ To Be Number One. การศึกษาค้นคว้า
อิสระตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิชัย กุลชา. (2536). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite