ระดับปัจจัยของความต้องการบ้านจัดสรรที่แท้จริง ของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมชาย กุละปาลานนท์
  • วารัชต์ มัธยมบุรุษ
  • มนัส สุวรรณ
  • สุนทร คล้ายอ่ำ
  • พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์

คำสำคัญ:

ความต้องการที่แท้จริง, โครงการบ้านจัดสรร, นักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง กลยุทธ์การบริหารจัดการโครงการบ้านจัดสรรเพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาบริบทของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ และระดับปัจจัยความต้องการบ้านจัดสรรที่แท้จริงของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรคือนักท่องเที่ยวที่ตรวจลงตราวีซ่าประเภทการพำนักระยะยาวที่พักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ จำนวนรวม 60,500 คน และจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างทาโร่ยามาเน่ ณ ระดับความคลาดเคลื่อน .05 เท่ากับ 398 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวที่เดินทางเข้ามาจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเพศชายวัยเกษียณ อายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป โดยมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท จะใช้ระยะเวลาในการพำนักในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่าง 90-120 วัน พักอาศัยเพียงลำพัง และมีการรับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางการอินเตอร์เน็ต สำหรับระดับปัจจัยความต้องการบ้านจัดสรร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการบ้านจัดสรรที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ชานเมืองหรือรอบตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด และอยู่ใกล้สถานพยาบาล โดยมีความต้องการเช่าบ้านจัดสรรต่อเดือนราคาไม่เกิน 10,000 บาท และจะเข้าพักในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ซึ่งนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวมีความเห็นว่า หากราคาบ้านจัดสรรมีราคาแพงเมื่อเทียบกับแหล่งทำเลที่ตั้งเดียวกันและมีอรรถประโยชน์อื่นที่จะได้รับเทียบเท่ากันแล้ว นักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวจะเลือกเช่าที่พักแบบคอนโดมิเนียมมากกว่า ที่พักแบบทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ อพาร์ทเม้นท์ และโรงแรม

References

กมลรัตน์ (ศักดิ์สมบูรณ์) เทอร์เนอร์ และศุภาพิชย์ (มณีสาคร) โฟน โบร์แมนน์. (2556). พฤติกรรม
การใช้บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(1), 1-29.

ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่. (2559). สถิติการขออยู่ต่อของกลุ่มชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจและพำนักระยะยาวในเชียงใหม่ ระหว่างปี 2551-2554 (สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559) จาก www.chiangmaiairport.immigration.go.th

ธฤติมา อัญญะพรสุข. (2559). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยว
ประเทศไทยของนักท่องเที่ยววัยสูงวัยชาวยุโรป. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พนิดา อนันตนาคม. (2557). ข้อเสนอยุทธศาสตร์ ตลาดลองสเตย์ : การศึกษาภูมิหลังทางวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น. กองวิจัยการตลาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2558. จาก http://www.etatjournal.com /web/menu-read-web-etatjournal/menu-2014/menu-2014-jul-sep/606-32557-longstay

เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของ
นักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วารัชต์ มธยมบุรุษ. (2554). ส่วนประสมตลาดการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. Naresuan University Journal 2011. Special Issue, 80-88.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 60120
หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่. (2558). สรุปข้อมูลเปรียบเทียบสถิติและ
รายได้จังหวัดเชียงใหม่ 2003-2013. สืบค้นจาก http://www.tourismchiangmai.org/th/ page สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558.
Best J.W. (1981). Research in Education, 4thed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test, 5thed. New York: Harper

Collins. Porter, M.E. (1980). Competitive strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2018

How to Cite