กระบวนการและผลสัมฤทธิ์เชิงประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • เมธี ประทุมทา

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนาครู, การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์, การสะท้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาครูของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยมีกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาครู คือ กิจกรรมครอบครัวสาธิตและกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อให้เห็นกระบวนการในการพัฒนาครูและทราบถึงผลสัมฤทธิ์เชิงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวครูผ่านการตีความจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณะผู้ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาครูและครูที่ผ่านประสบการณ์การพัฒนาครูในทุกกิจกรรม จำนวน 8 คน โดยใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีแนวคิดในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ โดยครูให้ความหมายของการพัฒนา ว่าหมายถึง พื้นที่ของการฝึกซ้อม การเพิ่มเติมความรู้ ความเหนื่อยยากสำหรับตนเองและการตระหนักถึงผู้เรียน ในขณะผลสัมฤทธิ์เชิงประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงของครูที่เกิดขึ้นประกอบด้วย การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การเปลี่ยนแปลงตนเองจากการสะท้อนของผู้อื่นและความรู้สึกต่อการเป็นครูในแบบของตน

References

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

พรพิมล พฤกษ์ประมูล. (2544). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารและปัญหาในการพัฒนาบุคลากรของ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, คณะครุศาสตร์, สาขาการบริหารการศึกษา.

ฤกษ์ชัย ใจคำปัน. (2549). การบริหารงานบุคคลากรในสถานศึกษาอำเภอจอมทอง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 5. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาการบริหารการศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2555). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการครูและบุคลากรฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงเรียนในสังกัด สพป. แพร่ เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

Bandura, A. (1997). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Conroy, S. A. (2001). Moral inclinations of medical, nursing, and physiotherapy students. (Unpublished doctoral dissertation). Oxford: University of Oxford.

Fullan, M. (2005). Leadership & sustainability: System thinkers in action. Thousand Oaks, CA, US: Corwin Press.

Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles (2nd ed.). Maidenhead, UK: Peter Honey and Alan Mumford..

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. New York: Doubleday Business.

Sergiovanni, T. J. (1994). Building community in schools. San Francisco: Jossey-Bass.

Van Manen, M. (1990). Researching lived experience: Human science for an action sensitive pedagogy. London: State University of New York Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2018

How to Cite