การเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย วิธีถดถอยพหุ และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

Authors

  • นิชาภา จันต๊ะมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยนุช เวทย์วิวรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

วิธีถดถอยพหุ, แบบจำลองสมการโครงสร้าง, องค์กรการก่อสร้าง, multiple regression, structural equation model, construction organization

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย วิธีถดถอยพหุ และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง โดยใช้งานวิจัยเรื่องปัจจัยหลักด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร และการศึกษาความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล ที่ขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรก่อสร้างไทย ซึ่งได้ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยวิธีถดถอยพหุมาเป็นกรณีศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาด้วยวิธีการ วิเคราะห์สมการโครงสร้าง และเปรียบเทียบผลการวิจัยจาก 2 วิธีการ พบว่า การวิเคราะห์สมการโครงสร้างนี้ มีปัญหาในเรื่องของอัตราส่วนระหว่างจำนวนกลุ่มตัวอย่างต่อจำนวนพารามิเตอร์ที่ประมาณค่า อย่างไรก็ดีการ วิเคราะห์สมการโครงสร้างนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทางสถิติของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างตัวแปรที่มีความซับซ้อนได้ และสามารถยืนยันสมมุติฐานของผู้วิจัยในภาพรวมที่ไม่สามารถทำได้ในวิธี ถดถอยพหุ ซึ่งมีความถูกต้อง สอดคล้องกับข้อมูลจริง โดยแสดงจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของ แบบจำลอง ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่างกับ สถิติที่เลือกใช้ เพื่อใช้พัฒนางานวิจัยด้านการจัดการก่อสร้างในอนาคตได้

 

The Comparison of Utilization of Multiple Regression with Structural Equation Model in Construction Industry Research

This research aimed to compare utilization of multiple regression and Structural Equation Model in construction industry research. Using research case study Key organizational infrastructure factors and study of human resource readiness for knowledge management in Thai construction organizations. The data collected and analyzed by multiple regression. The research presents a running example which analyzes the same dataset via SEM statistical techniques. It then compares two different statistical techniques. Finally, the results of this study showed that the result by using analysis of structural equation is the issue of the ratio between the numbers of samples per parameter. However, Multiple Regression Method wasn’t able to analyze the relationship of all factors as a whole, but SEM can confirm the relationship of all factors that occur as the overall hypothesis. The results of this research can be used as a guide in determining the appropriateness of the statistical sample used in the research and development of research in construction management in the future.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)