About the Journal

วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์เป็นวารสารในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ และเป็นสื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขาภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา ศาสนา ปรัชญา การท่องเที่ยว และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่หนึ่ง ตีพิมพ์เผยแพร่ช่วงเดือน มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่สอง ตีพิมพ์เผยแพร่ช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ของคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
2. เพื่อเป็นสื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาการด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ขอบเขตเนื้อหา
วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ วรรณคดี รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา ศาสนา ปรัชญา การท่องเที่ยว 

ข้อกำหนดของบทความที่ตีพิมพ์
วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์รับบทความที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้
1. ผู้นิพนธ์บทความลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/about/submissions

2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ ผู้นิพนธ์บทความทราบโดยทันที

3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้นิพนธ์บทความทราบภายใน 15 วัน

4. ถ้าผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ขอให้ ผู้นิพนธ์บทความชำระเงินค่าตีพิมพ์ ผ่านทางบัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ บัญชีออมทรัพย์ เลขบัญชี 450-2-05411-8 และกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินกลับมาทางระบบวารสารออนไลน์ (Thaijo) เพื่อเป็นหลักฐานด้วย    

5. หลังจากกองบรรณาธิการได้รับหลักฐานการชำระค่าตีพิมพ์บทความแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไปโดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองในรูปแบบที่ผู้ประเมินและ ผู้นิพนธ์บทความจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 45 วัน

6. เมื่อผู้ประเมินทำการประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินว่าบทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้นิพนธ์บทความแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ประเมินให้ผู้นิพนธ์บทความรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ประเมินดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด

บทความใน “วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์” เป็นทัศนะของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความคิดเห็นในข้อเขียนเหล่านั้น

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ แบ่งเนื้อหาของวารสารออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ (กรณีเป็นวิทยานิพนธ์ต้องไม่เกิน 1 ปี) เรื่องละประมาณ 20-25 หน้ากระดาษขนาดA4
2. บทความทางวิชาการ เรื่องละประมาณ 15-20 หน้ากระดาษขนาด A4
3. นโยบายการประเมินบทความ บทความทุกบทความได้รับการพิจารณาโดยผู้ประเมิน จำนวน 3 ท่าน

Author Guidelines
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับสำหรับผู้ส่งบทความ (Submission) (ภาษาไทย)
(Submission Author Guidelines) (English Version)
คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความที่เป็นสมาชิกในระบบ thaiJo อยู่แล้ว
คำแนะนำในการเขียนอ้างอิง(Citation) และ รายการอ้างอิง (Reference) แบบ APA 6

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Article Processing Charges)

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

วารสารฯ มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กรณี ผู้นิพนธ์บทความเป็นบุคคลากรภายในคณะศิลปศาสตร์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความเรื่องละ 2,500 บาท

2. กรณี ผู้นิพนธ์บทความเป็นบุคคลากรภายนอกจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความเรื่องละ 4,500 บาท

3. การชำระค่าตีพิมพ์เรียกเก็บเมื่อบทความของท่านได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารได้และใบเสร็จค่าตีพิมพ์จะออกให้เมื่อท่านชำระค่าตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว

แบบฟอร์มเกี่ยวกับบทความ

Publication Ethics
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์บทความต้องส่งแบบเสนอบทความเพื่อเป็นการรับรองว่าผลงานที่ได้ส่งมายังกองบรรณาธิการนั้น มีการจัดทำขึ้นใหม่ และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน สำหรับผลงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาในคนหรือสัตว์ทดลองจะต้องมีการระบุเลขจริยธรรมงานวิจัยให้ครบถ้วนและถูกต้อง
2. ผู้นิพนธ์บทความที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบทความทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริงอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการอ้างอิงชื่อ ทั้งนี้ผู้นิพนธ์อาจเตรียมหลักฐานการแบ่งสัดส่วนงานวิจัยในกรณีที่กองบรรณาธิการต้องการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวนี้
3. ผู้นิพนธ์บทความต้องรายงานข้อมูลเท็จจริงตามรูปแบบหัวข้อที่กำหนด ทั้งในส่วนบทนำ วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำวิจัยอย่างแท้จริง รวมทั้งการอภิปรายและสรุปผลการวิจัย นอกจากนี้จะต้องมีการระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยให้ถูกต้องและครบถ้วน
4. ผู้นิพนธ์บทความต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องและครบถ้วน เมื่อมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตนเอง
5. ข้อความที่ปรากฏในบทความและองค์ประกอบทั้งหมดของบทความนั้น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
6. ผู้นิพนธ์บทความต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับบทความอย่างเคร่งครัด
7. ในกรณีที่มีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้นิพนธ์จะต้องมีการระบุผลประโยชน์ทับซ้อนดังกล่าวอย่างชัดเจน
8. ข้อพิจารณาหรือข้อสรุปจากการตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด


บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการวารสารมีระบบการตรวจสอบบทความที่ส่งมาในเว็บไซต์ของวารสาร และไม่รับตีพิมพ์บทความที่พบว่า เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแห่งอื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการวารสารมีระบบการตรวจสอบทางด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าบทความที่จะตีพิมพ์ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ทั้งนี้หากมีการตรวจพบ บรรณาธิการวารสารจะหยุดดำเนินการ และติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อให้มีการชี้แจงประกอบการพิจารณาในการตอบรับหรือการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
3. บรรณาธิการวารสารจัดตั้งผู้ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบของบทความ และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งเข้ามาในระบบเว็บไซต์ของวารสาร เพื่อเป็นการประเมินบทความขั้นต้น และประกอบการพิจารณาในการตอบรับหรือการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความตามระยะเวลาดำเนินการของกองบรรณาธิการ
4. บรรณาธิการวารสารพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยคัดเลือกบทความที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ รวมทั้งความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับนโยบายของวารสาร
5. บรรณาธิการวารสารจะตัดสินโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำแนะนำจากผู้ประเมินบทความ และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ จากผู้นิพนธ์บทความ
ุ6. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
7. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่ปรากฎว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
8. บรรณาธิการจะเป็นผู้ดูแลกระบวนการตีพิมพ์ของบทความวารสาร (Peer Review Process) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ขอบเขตการรับของวารสาร และมาตรฐานทางวิชาการ 
9. ข้อพิจารณาหรือข้อสรุปจากการตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความในศาสตร์สาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ และมีหลักฐานที่เชื่อถือได้จากผลงานตีพิมพ์และผลงานวิชาการต่าง ๆ ของผู้ประเมิน โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมารองรับมาร่วมเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาคุณภาพของบทความจากความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของเนื้อหาของบทความ รวมทั้งคุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน อันสอดคล้องตามหลักกระบวนการทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามนโยบายของวารสารที่กำหนด ทั้งนี้บทความของผู้นิพนธ์จะมีผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน เพื่อการพิจารณาบทความ
3. ผู้ประเมินบทความจะต้องระบุผลงานวิจัยสำคัญ ๆ และมีความสอดคล้องกับบทความที่กำลังดำเนินการประเมิน แต่ผู้นิพนธ์บทความไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับแก้ไขและพัฒนาคุณภาพของบทความ
4. ผู้ประเมินบทความมีบทบาทต่อการตรวจสอบความซ้าซ้อนของผลงานจากผู้นิพนธ์บทความ ทั้งนี้หากพบความซ้าซ้อนให้แจ้งข้อมูลที่ตรวจพบมายังบรรณาธิการวารสาร
5. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
6. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์บทความ เช่น การรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงการ ผู้ร่วมงาน อันพึงทำให้ขาดอิสระในการพิจารณาบทความ โดยให้ทำการแจ้งบรรณาธิการและขอปฏิเสธการประเมิน
7. ข้อพิจารณาหรือข้อสรุปจากการตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด
8. การประเมินบทความต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด 

นโยบายการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest and Competing Interest Policy)
วารสารฯมีนโยบายที่หลีกเลี่ยงต่อการขัดกันของผลประโยชน์ในกลุ่มบรรณาธิการ ผู้ประเมินบทความ    ผู้นิพนธ์บทความทุกท่าน เพื่อให้การตีพิมพ์บทความีความโปร่งใสทางวิชาการ ดังนั้นหากมีกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมต่อกระบวนพิจารณาบทความ ผู้นิพนธ์หลัก (Corresponding Author) ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน หรือแจ้งผ่านทางการส่งความข้อผ่านระบบเว็บไซด์วารสาร