ชุมชนนิยมใน ‘เมืองน่าอยู่’: อัตลักษณ์พะเยาในบทเพลง

Main Article Content

มนตรา พงษ์นิล

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายของเมืองน่าอยู่ผ่านบทเพลงในบริบทการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมของพะเยาประมาณ 7 ทศวรรษที่ผ่านมา ผลการศึกษาเสนอว่า อัตลักษณ์พะเยาแบบสงบงามตามวัฒนธรรมชุมชนแต่แฝงความสนุก ถูกพัฒนาขึ้นจากมโนทัศน์ชุมชนนิยมที่ก่อตัว เคลื่อนไหว พัฒนาและแทรกซึมเข้าไปมีอิทธิพลต่อการสร้างความหมายเมืองพะเยาน่าอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยกระทำผ่านศูนย์กลางอำนาจของรัฐ ชนชั้นกลางในฐานะ‘คนนอก’ ได้เข้ามาถึงอำนาจของจังหวัด กลุ่มการพัฒนา ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในฐานะ‘คนใน’ตามลำดับอัตลักษณ์เมืองน่าอยู่จึงเป็นการเมืองของการสร้างความหมายที่รับใช้ผู้สร้าง การศึกษานี้ต้องการอภิปรายว่า ความเป็นชุมชนนิยมในเมืองที่ถูกสร้างขึ้นผ่านบทเพลง ส่งผลให้อัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายในบทเพลงแนวต่าง ๆ ที่สร้างความหมายใหม่เพื่อสะท้อนปัญหาและตอบโต้การพัฒนาของจากศูนย์กลางอำนาจเริ่มเลือนหายไปในปัจจุบัน โลกาภิวัตน์และความทันสมัยทำให้เมืองพะเยา  น่าอยู่ในบทเพลงมิได้แสดงความแตกต่างหลากหลายแต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของมโนทัศน์ชุมชนนิยมที่รัฐและชนชั้นกลางมอบให้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พงษ์นิล ม. (2019). ชุมชนนิยมใน ‘เมืองน่าอยู่’: อัตลักษณ์พะเยาในบทเพลง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(1), 48–78. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.3
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ พิมลศรี, และอดิศร เรือลม. (2556). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง จังหวัดพะเยาในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(2), 7-19.

คมสันต์ รัตนะสิมากูล. (2559). การศึกษาเครือข่ายการสื่อสารกับการประกอบสร้างความหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดอกบัว จังหวัดพะเยา. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 9(1), 17-34.

จินต์จุฑา ลี้จินดา. (2557). สุนทราภรณ์กับการสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมบันเทิงแบบ “สากล” ให้กับสังคมไทยในพุทธทศวรรษที่ 2490. วารสารอักษรศาสตร์, 43(2), 27-60.

บ้านโบราณกว๊านพะเยา. (5 ตุลาคม 2555). นทีสีทอง โดย ปิ่นนริศ จันทิมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560. จาก https://www.facebook.com/baanborankwanphayao/videos/2408983921276/.

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2546). โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2545). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2556). ศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ของการเรียกชื่อเมืองเขลางค์ เวียงละกอนและลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์, 1, 53-82.

มนตรา พงษ์นิล. (2550). ประวัติศาสตร์การพัฒนาในอาณาบริเวณกว๊านพะเยา. หนังสือรวมบทความในการประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 537-546.

มนตรา พงษ์นิล. (2558). บทสำรวจงานวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในภาคเหนือตอนบน: ข้อสังเกตการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางสังคมกับมนุษย์. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 16(2), 158-216.

มนตรา พงษ์นิล. (2561). อำนาจชีวะเหนือผังเมือง: การเผยตัวของทุนนิยมและการพัฒนาในสุญญากาศของผังเมืองรวมเมืองพะเยา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ Built Environment Research Associates Conference (BERAC9, 2018) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 601-611.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2548). อ่าน ‘วัฒนธรรมชุมชน’: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์แนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

ยศ สันตสมบัติ. (2535). แม่หญิงสิขายตัว: ชุมชนและการค้าประเวณีในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2542). ชาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยผู้ชมโทรทัศน์: ชีวิตข้างถนน ยามค่ำคืนบนถนนสายหนึ่ง ในเมืองเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สาทร ศรีเกตุ. (2557). พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในวัฒนธรรมเพลงไทยสากล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สามชาย ศรีสันต์. (2554). เศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างอัตลักษณ์ความพอเพียงให้กับชุมชน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 7(2), 53-9.

สามชาย ศรีสันต์. (2558). มโนทัศน์การพึ่งตนเองของชาวชนบท: การลดทอนชนบทให้เป็นขั้วตรงข้ามกับเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 32(2), 183-208.

สุธี เมฆบุญส่งลาภ. (2559). การสร้างการตระหนักรู้ในด้านประวัติศาสตร์พื้นที่แก่คนในชุมชนย่านหนองระบู ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา. เจ ดี: วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 3(2), 51-71.

สุนทร สุขสราญจิต. (2557). สาวพะเยา: บาดแผลในบทเพลง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนานาชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 8 “มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง” 27-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่, 357-369.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติการฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเอง.

สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. (2559). เส้นความยากจน (ด้านรายจ่าย) จำแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. 2543-2556. ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). คดีอาญาที่สำคัญ พ.ศ. 2549-2558. ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (22 พฤศจิกายน 2550). พะเยาฆ่าตัวตายพุ่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559. จากhttps://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew. php?idHot_new=10752.

อัฐมา โภคาพานิชวงษ์. (2544). "ชุมชน" และ "ประชาคม" ย่านถนนพระอาทิตย์กับกระแสการรื้อฟื้นเมืองน่าอยู่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Barthes, R. (1967). Elements of Semiology. Translated from the French by Annette Lavers and Colin Smith. New York Hill and Wang, 1980.

Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage Publications.

Leotard, J.F. (1988). The Postmodern Explained. Minneapolis, London: University of Minnesota Press.