พุทธธรรมกับทัศนะที่แตกต่างกันของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และพระเมตฺตานนฺโท

Main Article Content

มนตรี สืบด้วง

บทคัดย่อ

บทความนี้ประสงค์จะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับศาสนาในการตีความพุทธธรรมของพระภิกษุ 2 รูป รูปหนึ่งตีความด้วยรูปแบบวิธีการตามที่เคยปฏิบัติ เป็นแบบประเพณีที่สืบต่อกันมาโดยใช้ข้อมูลตามลำดับคัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ชันต้นและคัมภีร์ลำดับรองลงมา ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งตีความด้วยการมีสมมติฐานว่าคัมภีร์พระไตรปิฎกนั้นยังไม่สามารถเชื่อถือได้ต้องตรวจสอบก่อน โดยใช้วิธีการแบบใหม่ตามแนวตะวันตก ไม่ใช้ข้อมูลตามลำดับคัมภีร์ ทำให้บทสรุปที่ได้มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก และวิธีการตีความแบบใหม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกของชาวพุทธเป็นอย่างมากด้วย ผู้เขียนจึงจะนำเสนอแนวคิด วิธีการ ในการตีความของพระภิกษุ 2 รูปนี้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ผู้สนใจ

The objective of this research is to present the development of human thought on religion through interpretation. Phrabrahmakunaporn (P.A. Payutto) interprets dhamma in a traditionally way by relying on Tripitaka, commentaries and sub-commentaries respectively. Phramettanando interprets with a different assumption: Tripitaka should not yet be fully relied on until it is examined according to the methodology approved by western academics. Hence, commentaries and sub-commentaries are excluded. The two interpretations are totally different. The latter interpretation has created quite a controversy among Thai Buddhists. In this article, the researcher will present the two bhikkus’ way of thought and methodology used in their dhamma interpretations.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ