ปฐมบทแห่งการสื่อสารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Main Article Content

กำจร หลุยยะพงศ์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันกระแสภูมิภาคนิยมและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการต่าง ๆ รวมถึงนักวิชาการด้านการสื่อสาร ในที่นี้จะขอเพ่งพินิจถึงความสนใจของนักวิชาการด้านการสื่อสารที่แลเห็นความสำคัญของการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวบรวมจากการศึกษาของนักวิชาการที่ผ่านมาทั้งไทยและเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจด้านการสื่อสารกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปในอนาคต ผลการศึกษาอาจจำแนกได้เป็น 2 ระดับ โดยใช้เกณฑ์พื้นที่ คือ การสื่อสารในระดับโลกกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสื่อสารระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ระดับแรกการสื่อสารในระดับโลกกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่ม ตามแนวทางการศึกษาที่แตกต่างกันคือ กลุ่มแรก จะมองการสื่อสารระดับโลกกำลังรุกคืบสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวทางของจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม (cultural imperialism) เช่น ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ภาพยนตร์ฮ่องกง กลุ่มที่สอง จะมองการปรับประสมวัฒนธรรมของโลกกับดินแดนแห่งนี้ ตามแนวคิดเรื่องการประสมประสานวัฒนธรรม (cultural imperialism) เช่น เมื่อรายการเกมโชว์ต่างประเทศเขยิบเข้าไทยก็ต้องใส่พริกและมะนาวให้เป็นไทย ดังรายการเกมเศรษฐี เป็นต้น และกลุ่มที่สาม ศึกษาภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสายตาสื่อตะวันตก ตามแนวคิดภาพตัวแทน (representation) ผลชี้ให้เห็นว่าภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะถูกมองในแง่ลบมากกว่าบวก

ระดับที่สองการสื่อสารระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถจำแนกย่อยได้อีก 4 กลุ่ม ในกลุ่มแรก ศึกษาประวัติศาสตร์และโครงสร้างการสื่อสารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า โดยส่วนใหญ่สื่อมวลชนจะเป็นของใหม่พ่วงติดจากการนำเข้าของประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม ส่วนโครงสร้างของสื่อมวลชนจะเป็นไปตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน เช่น ประเทศที่เป็นสังคมนิยมทิศทางของสื่อก็จะมีแนวโน้มเช่นกัน คือ อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ ดังประเทศลาว และเวียดนาม กลุ่มที่สอง การครอบงำของสื่อไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ในขณะที่การสื่อสารระดับโลกครอบงำโลกที่สามในทำนองเดียวกัน การสื่อสารของไทยก็รุกล้ำสู่ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มที่สาม การศึกษาภาพของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสายตาของไทย จะมีทั้งภาพบวกและลบระคนกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพในแนวลบหรือ “คู่แค้น” มากเสียกว่า อันอาจมีผลต่อการพัฒนาสัมพันธภาพของประเทศในบริเวณนี้ และกลุ่มที่สี่ การศึกษาผู้รับสารหรือผู้ชมตามแนวทางวัฒนธรรมศึกษาพบว่า คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมความคิดก็ย่อมอ่านความหมายของเนื้อหาสารไม่เหมือนกัน และเมื่อคนเหล่านี้อพยพย้ายถิ่น (diaspora) ก็ยังคงติดตามเนื้อหาสื่อจากประเทศตนอยู่สม่ำเสมอ ดังกรณีคนไทยในประเทศออสเตรเลีย

Today regionalism and Southeast Asian Studies have become of interest amongst social scientists including scholars in the area of media studies. Thus, in this article I focus on communication in Southeast Asia with the hope that the written document will broaden our knowledge in human communication in this region.

The goal of this article is to explore two levels of communication in Southeast Asia countries: global and regional. At the global level, I will adopt the three main concepts of cultural imperialism, cultural hybridization, and media representation. Based on these concepts, three core aspects of international communication (i.e. production, text and consumption) will be examined.

At the regional level, I will investigate the history of Southeast Asia communication practice with colonialist influences and different media normative paradigms, e.g., liberalism, socialism, ect. Next, using a dominant perspective, I will explain how cultural domination is concealed in the international communication within the region. Then, I will delve into the images of neighbouring countries countries constructed by the Thai media, Finally, through the diasporic perspective, I will analyse how audiences Southeast Asia interact with media.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ