ชุดความคิดว่าด้วย “อาเซียน” ที่นำเสนอผ่านภาษา ในหนังสือการ์ตูนเสริมความรู้ชุดรอบรู้อาเซียน

Main Article Content

ดีอนา คาซา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะชุดความคิดว่าด้วย “อาเซียน” ที่นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาซึ่งแฝงอยู่ในหนังสือการ์ตูนเสริมความรู้ ชุดรอบรู้อาเซียน ผู้วิจัยใช้มุมมองวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าหนังสือการ์ตูนเสริมความรู้เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังเสนอชุดความคิดบางประการให้แก่ผู้อ่านอีกด้วย ชุดความคิดที่พบมี 3 ชุดความคิด ได้แก่ อาเซียนคือการแข่งขันแบบเป็นกลุ่ม ไทยคือผู้นำอาเซียน และอาเซียนเป็นพื้นที่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาจกล่าวได้ว่าหนังสือการ์ตูนเหล่านี้มีความพยายามนิยามความหมายของอาเซียนที่พึงประสงค์ โดยใช้กลวิธีทางภาษา ได้แก่ การใช้คำศัพท์ การอ้างถึง การกล่าวอ้างแบบเหมารวม การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้วัจนกรรม การใช้มูลบท การใช้ประโยคแสดงเหตุผล การใช้เสียง และการลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง อิทธิพลที่มีผลต่อชุดความคิดนี้คือการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางอาเซียนและความคิดชายเป็นใหญ่ที่มีอยู่ในสังคมไทย และชุดความคิดเหล่านี้อาจกำลังกำหนดการรับรู้ของเด็ก และเกิดผลกระทบต่อนโยบายอาเซียนด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ได้เจตนาของผู้ผลิตวาทกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คาซา ด. (2019). ชุดความคิดว่าด้วย “อาเซียน” ที่นำเสนอผ่านภาษา ในหนังสือการ์ตูนเสริมความรู้ชุดรอบรู้อาเซียน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 102–132. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.14
บท
บทความวิจัย

References

กชกรณ์ เสรีฉันทฤกษ์. (2551). วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย: มุมมองพหุมิติ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กระทรวงการต่างประเทศ. กรมอาเซียน. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานอาเซียน. สืบค้นจาก https://www.mfa.go.th/asean/th/

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา 2201783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรประกาย. (ม.ป.ป). ประวัติ บริษัท เพชรประกาย จำกัด. สืบค้นจาก https://www.phetpraguy.com/

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การนำหลักสูตรแกนกลางอาเซียน (ASEAN Curriculum sourcebook) สู่การปฏิบัติ. สืบค้นจาก https://obec.go.th/news/49194

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). คุณลักษณะเด็กไทยและตัวชี้วัดความสำเร็จ. สืบค้นจากhttps://social.obec.go.th/library/document/asean/book02/section2.pdf

สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, หัทยา จันทรมังกร, และศตนันท์ เปียงบุญทา. (2547). หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กของไทยที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวรรณกรรมและวาทกรรม. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Austin, J. L. (1962). How to Do Things with Words. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Dreampath Studio. (2560ก). แก๊งป่วนก๊วนหรรษา ตอน กำเนิดอาเซียน. กรุงเทพฯ: We will Shine.

______. (2560ข). แก๊งป่วนก๊วนหรรษา ตอน เปิดประวัติอาเซียน. กรุงเทพฯ: We will Shine.

______.(2560ค). แก๊งป่วนก๊วนหรรษา ตอน ธงและสัญลักษณ์ของอาเซียน. กรุงเทพฯ: We will Shine.

______. (2560ง). แก๊งป่วนก๊วนหรรษา ตอน ความเหมือนที่แตกต่าง. กรุงเทพฯ: We will Shine.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study of language. London: Longman.

Saeed. J. I. (2009). Semantics (3rd ed.). Malden, MA: Wiley-Blackwell.

Searle, J. R. (1969). Speech Acts: An essay in the philosophy of language. Cambridge: Cambridge University Press.

Singh-Sengupta, S. (2006). Gender, Work and Organisational Culture: A Southeast Asian Experience. Indian Journal of Industrial Relations, 41(4), 304-328.