I Am Precious/I Am Girl/I Am Black: Intertextuality in Africa American Children's and Young Adult Literature

Main Article Content

Suriyan Panlay

บทคัดย่อ

This study focuses on intertextuality encapsulated in African-American children’s and young adult literature, utilising Gates’s (1988) theorisation of an African-American literary tradition, or Signifyin(g), as its key theoretical underpinning. Whilst intertextuality has been extensively researched in adult literature, its place in children’s and young adult literature has been scarce, thus leaving its theoretical stance incomplete. Through critical analyses of the following children’s and young adult texts, Sapphire’s (1996) Push and Sharon G Flake’s (1998) The Skin I’m In, the study attempts to explain how black literary texts interact with each other, and how, through the eye of a fictional child, such an interaction is represented: how subtle and distinct it is from that portrayed in adult literature. From a Signifyin(g) theoretical standpoint, the study reveals that these children’s and young adult texts, like their adult counterparts, repeat, imitate, critique and revise each other’s texts, through, principally, the distinct use of black English vernacular. Though these children’s and young adult texts employ both parody and pastiche as their intertextual or Signifyin(g) strategies, the former, parody, tends to be more pronounced, to encourage diversities within common themes prevalent in African-American literature, such as visibility, literacy and redemption. The study also suggests that intertextuality in children’s and young adult literature needs to strike a balance between being overreferential and being adequately challenging in order not to lose its readers.

บทความวิจัยชิ้นนี้ศึกษา ‘สหบท’ หรือ Intertextuality ในวรรณกรรมเด็กและเยาวชนของนักเขียน แอฟริกัน-อเมริกัน โดยใช้แนวทฤษฎีการวิเคราะห์ ‘สหบท’ งานวรรณกรรมแอฟริกัน-อเมริกันของเฮนรี หลุยส์ เกท จูเนียร์ ที่รู้จักกันในนาม Signifyin(g) เป็นทฤษฎีหลักเพื่อให้เห็นว่าวรรณกรรมของนักเขียนผิวสีของอเมริกานั้นมี ‘สหบท’ ที่เหมือน หรือแตกต่างจากวรรณกรรมทั่วไปอย่างไร และเมื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเด็กและเยาวชนนั้นนักเขียนมีกลวิธีนำเสนอ‘สหบท’ ที่เหมือนหรือแตกต่างไปจากวรรณกรรมของผู้ใหญ่หรือไม่อย่างไร หนังสือวรรณกรรมเด็กและเยาวชนของนักเขียนแอฟริกัน-อเมริกันที่ผู้เขียนใช้ในการวิเคราะห์งาน วิจัยชิ้นนี้ คือ Push (1996) ของ แซฟไฟร์ (Sapphire) และ The Skin I’m In (1998) ของ ชารอน จี เฟลค (Sharon G Flake) บทความชิ้นชี้ให้เห็นว่านักเขียนผิวสีของอเมริกาได้ใช้‘สหบท’ อย่างแพร่หลาย ทั้งการเขียนล้อ (Parody) เพื่อวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนของนักเขียนผิวสีท่านอื่น และการเขียนเลียนแบบ (Pastiche) เพื่อยกย่องและให้เกียรติงานเขียนชิ้นอื่นๆ ทั้งนี้ การเขียนล้อและการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ Parody เพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายทางความคิดของนักเขียนผิวสีดูจะเป็นกลวิธีหลักของวรรณกรรมเด็กและเยาวชนทั้งสองเล่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ สำหรับ ‘สหบท’ ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเด็กและเยาวชนนั้น บทความชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่านักเขียนต้องให้ความสมดุลระหว่างความยากง่ายของ ‘สหบท’ กับความท้าทายของประสบการณ์ในการอ่านของผู้อ่านทั้งที่เป็นวัยเด็กและเยาวชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย