พลวัตของจุดหมายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2550

Main Article Content

บุณยสฤษฎร์ อเนกสุข
วศิน ปัญญาวุธตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพลวัตของจุดหมายทางการท่องเที่ยวในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2550 เพื่ออธิบายจุดหมายทางการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลกว่าแท้ที่จริงแล้วอยู่ในรูปแบบใด และมีเงื่อนไขหรือบริบทใดบ้างที่ประกอบสร้างให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว โดยพบว่าจุดหมายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับที่ 4 ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยก่อนหน้านี้แหล่งท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การคมนาคม และการค้าจากการเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่าง จึงไม่ใช่จุดหมายที่แท้จริง นอกจากนี้ นโยบายปีท่องเที่ยวไทยในปี พ.ศ. 2530 ยังทำให้การประดิษฐ์สินค้าทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกขยายตัว ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มทุนทางการท่องเที่ยวภายนอกและกระแสนิยมในโลกตะวันตก โดยนัยนี้โลกาภิวัตน์จึงมีบทบาทต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกที่ผันแปรไปตามความต้องการของกลุ่มทุนและกระแสความนิยม ซึ่งทำให้จุดหมายทางการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลกยังเลือนรางจนถึงปัจจุบัน

This article aims to present the dynamics of tourism goals between the year 1957 to 2007(B.E. 2500-2550). Based on the aforementioned aims, the article explains tourism in Phisanulok province in the following dimensions: the exact tourism approaches as well as the conditions and contexts advocating its potential as a tourist destination. The study reveals that the tourism goals of the province have been generated since 1977 (B.E. 2520) under the umbrella of the strategic plans of tourism development No.4 concerning cultural tourism and eco-tourism issues. Previously, tourist attractions were part of the changes attempting to turn Phisanulok into a hub of politics, transportation and trade in Lower Northern Thailand. Therefore, the tourism goals are still vague. Furthermore, with the tourism policies of 1987 (B.E. 2530)-under the conditions of external-tourism investment and Western popularity, the artificial-tourism trends were expanded in the province. As a result, it implies that globalization plays a crucial role in determining the tourism image of the province-being varied in accordance with the external investment and popularity, consequently creating, until now, unclear tourism goals for the province.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ