การจัดกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

โกสุม สายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ การจัดกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และเพื่อศึกษาแนวทางการปลูกฝังกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาสถาบันการศึกษาเอกชน 2 แห่งในจังหวัดนนทบุรี รวมจำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่ตามแบบของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังให้แก่นักศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมในระดับมากที่สุดได้แก่ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านกิริยาวาจาสุภาพด้านการมีวินัยด้านความสามัคคีด้านความรับผิดชอบด้านความอดทน ขยันหมั่นเพียร ด้านความกตัญญูรู้คุณ ด้านการประหยัดด้านจิตสาธารณะด้านความเมตตา ในการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษาเมื่อจำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมไม่พบความแตกต่าง ในส่วนของแนวทางการปลูกฝังกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา พบว่าคณาจารย์และบุคลากรควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยมให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม การสอดแทรกเรื่องราวทางคุณธรรมจริยธรรมทุกครั้งที่สอนกำหนดให้เป็นงานสำคัญของสถานศึกษา และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติทางจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

The main objectives of this research were to study and compare the educational activities supporting ethical behavior for students of the private higher education in Nonthaburi categorized by age, position, and working experience, and to study the approach to promote such activities. The samples comprised 2 private higher education institutes and 216 graduate level instructors. The research instrument was a rating scale questionnaire. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, one-way analysis of variance, and Scheffe's method. The results of the study suggested that the educational activities supporting ethical behavior as a whole were rated at a highest level. The ethical behavior studied were honesty, gentleness, orderliness, unity, responsibility, tolerance, gratitude, economy, voluntary public service, and mercy. With regard to the instructors’ attitudes toward such activities, no significant differences were found. The 5 approaches to promote the activities included being good role models for students, moral values and conscience to be a good man, incorporating virtue and morality into classroom teaching, specifying ethical behavior as part of the institution’s key goal, and continual support of these practices.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย