จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม จิตวิทยานิมาน และอุเบกขาธรรมในชีวิตกับการทำงาน

Main Article Content

สิทธิโชค วรานุสันติกุล

บทคัดย่อ

จิตวิทยาได้รับอิทธิพลจากมุมมองของการรักษาบำบัดปัญหาทางจิตมาเป็นเวลายาวนาน ทำให้นักจิตวิทยาเน้นการวิจัยและสร้างทฤษฎีการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์เพื่อบำบัดรักษาความผิดปกติทางพฤติกรรม แต่ในปัจจุบันได้มีมุมมองใหม่เกิดขึ้นมาเรียกว่า จิตวิทยานิมาน (Positive Psychology) ซึ่งมองว่า ควรจะเน้นการศึกษาวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ในส่วนที่เป็นอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดทางบวกให้มากขึ้นโดยหวังว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดปัญหาทางจิต เนื่องจากจิตวิทยานิมานมีรากฐานมาจากการรับรู้ปรากฎการณ์รอบตัวและให้ความสำคัญกับการมองโลกในแง่ดี การมีความสุข ความมั่นใจในความสามารถของตน ความหวังและความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานและการประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตามในทางพระพุทธศาสนานั้นยังเห็นว่า การติดยึดอยู่กับการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความสุขหรือความทุกข์ทางโลกยังคงไม่ใช่หนทางที่จะทำให้จิตสงบ สว่างสะอาดได้ แต่ควรเข้าใจไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และหลักอุเบกขาคือการรับรู้แบบรู้เหตุผลแล้วปล่อยวางจึงจะไม่กระทบกระเทือนจิตใจ

Psychology has been influenced by research and theories of mental cure and therapy since its beginning. Recently, there has been a group of psychologists expanding their research into an area called Positive Psychology, which they claim has been left in obscurity though it is an effective way of preventing mental illness. Positive Psychology is a study of human behavior focusing on affective and cognitive domains and mainly based on people’s perception of phenomena around them. The emphasis is on positive aspects that will make them feel good: optimism, happiness, etc. These constructs have been found to have some correlation with the work behaviors and successes of individuals.

However, attachment, whether it is to happiness or suffering, will not product a person with calmness, cleanliness, and peace of mind unless a person understands the law of ANICCA, DHUKHA, and ANATTA. The teaching of UBEKKADHAM explains that both positive and negative perceptions cannot bring peace and happiness unless a person can perceive events around him and can remove the emotional attachment from his perception.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ