การปฏิรูประบบอุดมศึกษาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีตามปฏิญญาโบโลญญ่า

Main Article Content

นรเศรษฐ์ แก้ววิภาส

บทคัดย่อ

“กระบวนการโบโลญญ่า” เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีของยุโรป โดยมีเป้าหมายสร้าง “พื้นที่อุดมศึกษายุโรป” ขึ้นภายในปี พ.ศ. 2553 เพื่อสนับสนุนความคล่องตัวในการโยกย้ายที่เรียนของนักศึกษาและการแลกเปลี่ยนบุคลากร รวมทั้งพัฒนาอุดมศึกษาของยุโรปให้เป็นที่น่าสนใจและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ “กระบวนการโบโลญญ่า” นี้ทำให้เกิดการปฏิรูปอุดมศึกษาครั้งใหญ่ในเรื่องระบบวุฒิการศึกษา การสร้างระบบหน่วยกิตแบบยุโรป และการยอมรับวุฒิการศึกษาระหว่างประเทศ

บทความนี้ให้ภาพรวมของภูมิหลัง พัฒนาการและมุมมองในอนาคตของกระบวนการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ในที่นี้ยกกรณีของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการปฏิรูปที่เกิดจากปรัชญาการศึกษาและค่านิยมที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมเยอรมัน รวมถึงปัญญหาการยอมรับวุฒิการศึกษาจากทางสังคมและทางภาคธุรกิจ นอกจากนี้จะอภิปรายถึงผลกระทบของการปฏิรูปที่มีต่อนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการศึกษาต่อ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในอนาคต

The “Bologna Process” is a commitment among European ministers with the objective of promoting the mobility of students and academic and administrative staff as the basis of establishing the “European Higher Education Area” by 2010 as well as enhancing the attractiveness and competitiveness of the higher education institutions in Europe. It produces far-reaching reforms of the higher education system in the European countries regarding degree structure, establishment of the “European Credit Transfer System” (ECTS), and recognition of degrees.

This article gives a summary of the background, development, and further perspectives of the reform process. With a focus on the Federal Republic of Germany, it may be shown that the reform process isn’t easy to realise because of the deep-rooted educational philosophy and tradition as well as the acceptance of the old degrees in society and economy. Furthermore the consequences of the “Bologna Process” for foreign students, who want to study in the Federal Republic of Germany in the further, will be discussed.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ