การพัฒนาแบบประเมินการปรับตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

ชัชสรัญ เต็งพงศธร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินการปรับตนให้เป็นชุดของแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐาน (standardized test battery) สำหรับใช้ประเมินตนเอง (self-assessment) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วยแบบประเมินลักษณะบุคลิกภาพ รูปแบบพฤติกรรม ความเครียด พฤติกรรมการจัดการกับปัญหาและความมเฉลียวฉลาดทางอารมณ์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการปรับตน

แบบประเมินชุดนี้พัฒนาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามปลายเปิดและดัดแปลงจากแบบทดสอบภาษาไทยและต่างประเทศ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรีซึ่งศึกษาที่ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตจำนวน 429 คน จากการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) พบว่าแบบประเมินชุดนี้มีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) และผลจากวิเคราะห์ทางสถิติอื่น ๆ แสดงให้ถึงอำนาจจำแนก (discriminant power) และความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบประเมินชุดนี้ (alpha ระหว่าง 0.6285 ถึง 0.8839) ซึ่งได้พัฒนาเกณฑ์ปกติ (norms) เพื่อใช้เปรียบเทียบด้วยนอกจากนี้ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปรับตนบางปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน และสามารถสร้างสมการทำนายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปรับตนได้จากปัจจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าแบบประเมินชุดนี้ได้พัฒนาให้เป็นแบบทดสอบมาตรฐาน ซึ่งเหมาะสมกับการใช้เพื่อประเมินการปรับตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยสามารถนำไปใช้ในการคัดเลือก พัฒนาหรือให้ความช่วยเหลือนักศึกษาได้

The purpose of this study were to develop standardized test battery for Thammasat students’ self-assessment in psychological factors related to adjustment such as personality traits, type of behaviors, stress, coping behaviors, and emotional intelligence (EQ) and to investigate the correlation of these factors.

This test battery was developed by literature reviews, open-end questionnaires and adaptation from Thai and foreign inventories. The sample included 429 Thammasat students, both ar Tha Prachan and Rangsit campuses. By factor analyses, the results revealed that this test battery measured the proposed theorectical constructs (construct validity). And by other statistical analyses, they also showed that this test battery was a reliable assessment (alpha between 0.6285 and 0.8839) with discriminant power and norms. Some adjustment factors were correlated with others and predictive equations of adjustment factors could be formulated. The finding indicated that this test battery was a standardized self-assessment for Thammasat students and could be appropriate for selection, development and counseling.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
รายงานวิจัย