บทบาทหน้าที่ของผู้หญิงทำงานในสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

Main Article Content

บารนี บุญทรง

บทคัดย่อ

“บทบาทและหน้าที่ของผู้หญิงทำงานในสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่าอะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นที่ทำงานประจำไม่สามารถทำงานประจำได้อย่างต่อเนื่อง ภายหลังจบการศึกษาผู้หญิงญี่ปุ่นจะทำงานประจำระยะหนึ่ง แล้วลาออกเมื่อแต่งงานมีครอบครัว จนกระทั่งลูกเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแล้วจึงกลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง

ข้อมูลที่ใช้ในการเขียนบทความเป็นข้อมูลจากหนังสือและบทความที่มีผู้เขียนเป็นทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงญี่ปุ่นที่ทำงานประจำมีอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องจริง โดยอุปสรรคเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประการใหญ่คือ 1. กฎหมายและวัฒนธรรมการจัดการแบบญี่ปุ่น 2. ทัศนะของสังคม 3. ภาระครอบครัว

อุปสรรคด้านกฎหมายของญี่ปุ่นนั้นเกิดจากตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองถึงกลางทศวรรษ 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานที่มีเนื้อหาเน้นการปกป้องผู้หญิงและสวัสดิการของผู้หญิงแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการกีดกันผู้หญิงไม่ให้ได้รับความเท่าเทียมในการจ้างงานเท่ากับผู้ชาย อย่างไรก็ตามกฎหมายญี่ปุ่นได้เปลี่ยนมาเน้นความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในการจ้างงานตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา

อุปสรรคด้านวัฒนธรรมการจัดการแบบญี่ปุ่นมีสองด้าน ด้านหนึ่งคือการแบ่งสายงานและการเปลี่ยนสายงานสำหรับพนักงานหญิงซึ่งถือได้ว่าเป็นการกีดกันผู้หญิงทางอ้อม อีกด้านหนึ่งคือบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นยังนิยมใช้ระบบ “สมบัติศักดิ์สิทธิ์สามประการ” (Three Sacred Treasures) ซึ่งระบบนี้ส่วนใหญ่ใช้ปฏิบัติสำหรับพนักงานชาย

ผู้หญิงได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้เห็นความสำคัญของบทบาทการเป็นแม่และภรรยามากกว่าบทบาทของผู้หญิงทำงานซึ่งส่งผลต่อทัศนะในเรื่องการแต่งงาน การศึกษา การทำงานและการเป็นแม่บ้านที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานประจำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาระครอบครัวก็เป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถทำงานประจำอย่างต่อเนื่องได้

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดปัจจัย 3 ประการที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานประจำอย่างต่อเนื่องของผู้หญิงญี่ปุ่นดังที่กล่าวมาแล้วก็คือค่านิยมในเรื่องการแบ่งงานตามเพศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวคิดและพฤติกรรมของคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับการทำงานของผู้หญิง อย่างไรก็ดี จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าเมื่อเกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานในอนาคตผู้หญิงจะเข้ามาเป็นแรงงานทดแทนอย่างแน่นอน แต่หากสังคมญี่ปุ่นยังมองว่าภาระครอบครัวเป็นหน้าที่ของผู้หญิงอยู่ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้หญิงญี่ปุ่นจะทำงานพิเศษมากกว่าทำงานประจำ

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้คือ ครอบครัวญี่ปุ่นควรเปลี่ยน รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กตระหนักถึงเท่าเทียมกันและการช่วยเหลือกันระหว่างชายหญิงตั้งแต่เด็กยังเล็ก ผู้ชายญี่ปุ่นควรมีส่วนร่วมในภาระครอบครัวให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ควรมีการส่งเสริมความเท่าเทียมกันและการช่วยเหลือกันระหว่างชายหญิงสู่ประชาชนผ่านทางสื่อมวลชน บริษัทญี่ปุ่นควรเปลี่ยนมาใช้ระบบการเลื่อนตำแหน่งและขึ้นเงินเดือนตามความสามารถแทนระบบอาวุโส รัฐบาลควรจัดหาสถานบริการและผู้ให้บริการสำหรับเด็ก และผู้สูงอายุให้เพียงพอแก่ความต้องการ นอกจากนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายภาษีและกฎหมายเงินบำนาญที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้หญิงญี่ปุ่นที่เป็นแม่บ้านเต็มตัวด้วย

“The Study of Japanese Working Women’s Roles and Duties since World War II”, aims to study the factors that make full-time Japanese working women unable to work continuously. After graduation, Japanese women work for a period and resign when they are married and return to work when their children go to schools.

This documentary research is based on books and documents written by both Japanese and non-Japanese authors. The result of the study reveals that there three obstacles that render full time Japanese working women unable to work continuously 1. Laws and Japanese-style management culture; 2. Attitudes of Japanese society; 3. Family obligations

After the end of World War II, the Japanese government proclaimed the employment laws which emphasized the protection of working women and their welfare. The laws could be considered as discrimination against women in employment environment.

The obstacles regarding Japanese-style management culture could be divided into two aspects. Firstly, the two-track system. Secondly, the “Three Sacred Treasures” focuses on male employees and as a result causes the companies to give more importance to male employees than to women.

Social attitudes of the Japanese assume essential differences between women and men in conducting life. Women have been taught since childhood to give priority to the roles of mother and wife instead of working woman. Moreover, family obligations are one of the obstacles preventing women from working full time continuously. These obligations include housework, childcare, and elderly care.

The root of all these three obstacles preventing women from working continuously is the value regarding the gender division of labor, which has affected Japanese thought and behavior toward women’s working. However, it could be suggested that if Japanese society wants to encourage more women to work full time, firstly, Japanese families should change the way they bring up their children. Secondly, Japanese men should share more roles in family obligations. Thirdly, equality and help between men and women should be propagated through mass media. Fourthly, Japanese companies should switch from traditional seniority-based wage and promotion system to merit-based wage and promotion system. Fifthly, the government should provide sufficient nurseries and elderly care facilities with qualified staffs to meet society’s demand. Finally, the government should also revise the tax and pension law which benefit full time housewives.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ