วิพาษคดี: อุปลักษณ์สัตว์-สตรีในภาษาไทย

Main Article Content

ชัชวดี ศรลัมพ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ภาษาในเชิงเปรียบเทียบหรือ “อุปลักษณ์” ได้รับการศึกษากันอย่างกว้างขวางกันโดยทั่วไปมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งมักเป็นการศึกษาในด้านของการนำภาษาไปใช้ในเชิงเปรียบเทียบเพื่อทำให้เกิดภาพพจน์ด้วยการเปรียบสิ่งหนึ่งให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แต่ตามแนวคิดของนักภาษาศาสตร์ปริชาน ได้แก่ เลคอฟฟ์และจอห์นสัน (1980), โคเวกเซส (2002) นั้น มองเห็นว่า การใช้ภาษาในเชิงเปรียบเทียบให้เกิดเป็นอุปลักษณ์นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ในเรื่องของภาษาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาในสังคมด้วย กล่าวคือ การใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ในรูปแบบของการเปรียบเทียบเป็นอุปลักษณ์และสะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิดของผู้ใช้ภาษาซึ่งอยู่ในความหมาายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ยิ่งไปกว่านั้น วัฒนธรรมของแต่ละสังคมมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างของอุปลักษณ์อีกด้วย


บทความนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาและอธิบายลักษณะของการใช้ภาษาเปรียบเทียบเป็นอุปลักษณ์โดยมีกระบวนการทำให้เป็นอุปลักษณ์ซึ่งเปรียบเทียบให้ผู้หญิงเป็นสัตว์ตามทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศน์ (Conceptual Metaphor Theory, CMT) หรือเป็น อุปลักษณ์สัตว์-สตรี (WOMEN ARE ANIMALS) ผลการศึกษาพบว่า ในภาษาไทยจำแนกสัตว์ที่ถูกนำมาใช้เปรียบเทียบเป็นอุปลักษณ์เป็นสามประเภท ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ใช้ทำงานและสัตว์ป่า สัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำมาใช้อธิบายและเปรียบเทียบกับสตรีหรือผู้หญิงในความหมายที่หลากหลายและยังหมายรวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับเพศและค่านิยมทางวัฒนธรรมและมักจะสื่อความหมายออกไปในทางไม่ดีโดยเฉพาะในการกล่าวถึงด้านความสวยงามและพฤติกรรมที่ไม่ดีของสตรี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศรลัมพ์ ช. (2022). วิพาษคดี: อุปลักษณ์สัตว์-สตรีในภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 17(1), 85–100. https://doi.org/10.14456/lartstu.2017.4
บท
บทความวิจัย