แนวคิดว่าด้วยกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม : มุมมองเชิงลบและเชิงบวก

Main Article Content

สิทธิกร ศักดิ์แสง

บทคัดย่อ

                   แนวคิดทางกฎหมายของมาร์กซิสต์ นับว่าเป็นทฤษฎีที่แสดงออกถึงแนวคิด ของคนที่ออกกฎหมายมาเพื่อผลประโยชน์ และปกป้องผลประโยชน์ของพวกที่มีอำนาจปกครอง หรือเป็นแนวคิดที่ว่า “กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นสูงที่มีอำนาจออกกฎหมาย” เป็นแนวคิดที่เป็นมุมมองเชิงลบพัฒนาการทางกฎหมาย ที่เป็นเครื่องมือของรัฐ หรือความผันผวนของการตีความบทบาทของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมในค่ายสังคมนิยมที่เริ่มจากภาพลักษณ์ของกฎหมายในเชิงลบ อันเป็นทฤษฎีแนวคิดมาร์กซิสต์ดั้งเดิม ซึ่งกลายเป็นสังคมชำรุดที่เสื่อมเสียพลัง ความชอบธรรมทางปัญญา และเปลี่ยนมาในเชิงบวก คือ การยอมรับคุณค่าทางกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม หรือเน้นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายมากขึ้น


                 ส่วนแนวคิดนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นแนวคิดที่เน้นบทบาทความสัมพันธ์ของกฎหมายต่อสังคม โดยเน้นไปที่การตรากฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมต่าง ๆ (Social legislation) ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ หรือมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมเป็นกลไกในการแก้ปัญหาสังคมในเชิงบวก


                 ผู้เขียนเห็นว่า เราควรเน้นเอาแนวคิดอันเป็นธรรม ภายใต้จิตสำนึกของตนเอง และแนวความคิดที่มองโลกในแง่บวก โดยเฉพาะแนวคิดของรอสโค พาวด์ (Roscoe Pound) ซึ่งมองว่า การใช้กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมและแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อการระงับความไม่เป็นธรรม จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. “พัฒนาความคิดมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 20: สำนักแฟร์งเฟริ์ต.” วารสารเศรษฐกิจการเมือง 4, ฉ.1 (กันยายน 2527).

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราม คำแหง, 2550.

จรัญ โฆษณานันท์. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2554.

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญาแนววิพากษ์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2550.

จุลกิจ รัตนมาศทิพย์. ฎีกามหาชน เล่ม 1 วาทกรรมว่าด้วยสังคม กฎหมายและความยุติธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: หลอ แอนด์ เล้ง พับลิชชิ่ง, 2551.

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล. “รอสโค พาวด์ (Roscoe Pound),” http://chalermchai-nbtc.blogspot.com/2013/roscoe-pound27.htmm=1 (accessed March 19, 2562).

ชำนาญ จันทร์เรือง. “ยูโทเปีย (Utopia).” http://prachatai.com/journal/2008/09/18284 (accessed January 28, 2557).

นราพันธ์ บรรจงแก้ว. “ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบสังคมนิยมยูโทเปีย Utopiansociallism.” http://203.155.220.175/newweb/index.php?option=com_content&view=article&id=765:-utopiansocialism&catid=98:2013-05-21-01-48-58&Itemid=189) (accessed January 28, 2557).

นายภูติ คือบทกวี. ชนชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อชั้นนั้น. ใน หนังสือนิติศาสตร์ (2500) จัดทำโดยกลุ่มนักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://www. khaosod.co.th/newspapercolumn/people/news_1472458 (accessed November 12, 2561).

“แนวคิดทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง.” https://www.baanjomyut.com/library_2/socialist_and_communist_zionist/ 04.html (accessed March 19, 2562).

โภคิน พลกุล. เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2528.

รองพล เจริญพันธุ์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ม.ป.ป.

วรวิทย์ กนิษฐะเสน (ผู้แปล) “ประวัติศาสตร์วิชานิติศาสตร์เยอรมันในศตวรรษที่ 19” อ้างใน ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา ภาคสอง : บทนำทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.

สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม. ขุมปัญญาของ ปรีดี พนมยงค์. นนทบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม, 2544.

สิทธิกร ศักดิ์แสง. หลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2557.

Andrew Altman. Critical Legal Studied: Aliberal Critique. (Princetion University, 1993).

Chistopher Osawe. “The Four Images of Soviet Law: A Philosophical Analsis of Soviet Legal System.” Taxas International Law Journal, 21 No 1 (1985).

George Novack. Polemics in Marxist Philosophy. New York: Monard Press.

Roscoe Pound. The Scope and Purpose of Sociological Jurisprudence. Harvard Law Review, 1912.