การปรับตัวของวิทยุกระจายเสียงในยุคหลอมรวมสื่อ

Main Article Content

สุณิสา เมืองแก้ว
ธีรภัทร วรรณฤมล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของวิทยุกระจายเสียงในยุคหลอมรวมสื่อ และเพื่อศึกษารูปแบบการเป็นวิทยุกระจายเสียงในยุคหลอมรวมสื่อ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยยึดหลักการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) ที่มีลักษณะตรงกับขอบเขตการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานีวิทยุ และบริษัทผู้ผลิตรายการวิทยุ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท คูลลิซึม จำกัด ผู้ผลิตรายการวิทยุ COOL fahrenheit 93 (กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสถานีวิทยุประเภทบริการธุรกิจของภาคธุรกิจเอกชนในส่วนกลาง)บริษัท ดนตรีสีสัน จำกัด ผู้ผลิตรายการวิทยุดนตรีสีสัน โมเดิร์น 9875 (FM 98.75 MHz.) และเฟรนด์ 105.75 (FM 105.75 MHz.) (กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสถานีวิทยุประเภทบริการ ธุรกิจของภาคธุรกิจเอกชนในส่วนภูมิภาค) สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (FM 101.5 MHz.) (กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาประเภทบริการ สาธารณะในส่วนกลาง) และสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน (FM100 MHz.)คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาประเภทบริการสาธารณะในส่วนภูมิภาค) ผลการศึกษาพบว่า สถานีวิทยุและบริษัทผู้ผลิตรายการวิทยุที่ทำการศึกษาทั้ง 4 แห่ง มีรูปแบบการปรับตัวของวิทยุกระจายเสียงตามองค์ประกอบของแนวคิด Lifestyle Media ครบทุกองค์ประกอบ คือ มีช่องทางใหม่ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน มีการปฏิสัมพันธ์ เนื้อหาแบบใหม่จากรับส่ง เป็นการแลกเปลี่ยนเนื้อหาผ่านช่องทางสื่อใหม่ ก่อเกิดเป็นเนื้อหาใหม่ เช่น การโทรศัพท์ร่วมรายการ (phone-in) การแสดงความคิดเห็น ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ตลอดจนมีการหาข้อมูลแบบใหม่ที่ไม่ได้รับฟังเฉพาะช่วงเวลาปกติ แต่มีการรับฟังรายการย้อนหลัง (radio on demand) ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน โดยที่ความสามารถและศักยภาพในการไปถึงเป้าหมายตามองค์ประกอบดังกล่าวนั้น
มีปริมาณหรือจำนวนที่มากน้อยแตกต่างกันไป ตามประเภทและโครงสร้างการดำเนินงานขององค์กร พันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร บุคลากรทีมงาน และกลุ่มผู้ฟังรายการ ที่จะต้องพัฒนากลยุทธ์การไปถึงเป้าหมายของแต่ละสถานีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ, และ นิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการ เมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชลิดา ตรูทัศนวินท.์ (2552). การเปลี่ยนแปลงจากวิทยุ เอเอ็ม เอฟเอ็ม เป็นวิทยุออนไลน์: กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจของสถานีวิทยุออนไลน์ เรดิโอบางกอกดอทเน็ท (รายงานโครงการเฉพาะบุคคล). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณวรา พิไชยแพทย์. (2553). การปรับกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม.
พัชราพร ดีวงษ์. (2557). การคิดสร้างสรรค์รายการวิทยุกระจายเสียงในยุคดิจิทัล สถานีวิทยุ SEED 97.5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชราพร ดีวงษ์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในวิทยุกระจายเสียงยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 217-228.
พิพัฒน์ สังข์แก้ว (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียง อสมท.ส่วนภูมิภาค (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขานิเทศศาสตร์.
ภัทฑิยา โภคาพานิชย์. (2559). กลยุทธ์การปรับตัวของคลื่นวิทยุในยุคสื่อดิจิทัล กรณีศึกษาคลื่นวิทยุ Cool Fahrenheit 93 (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.
วันทนีย์ ภูมิภัทราคม และคณะ. (2537). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพฯ : วี. เจ พริ้นติ้ง.
สุจิตตรา แก้วสีนวล. เอกสารการเรียนการสอน สด.338 เทคโนโลยีผสมผสาน. คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.peerawich.com/dc388/dc388-CT.pdf
Peerawat Ngongakow. Convergence การหลอมรวมสื่อ. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559, จาก https://go.nexus.in.th/J5T8e