Comparative Study on Business Model of Meituan Delivery Co. and Ele.me Delivery Co., Ltd. in the People’s Republic of China Comparative Study on Business Model of Meituan Delivery Co. and Ele.me Delivery Co., Ltd. in the People’s Republic of China

Main Article Content

Hui Huang
ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล

Abstract

การศึกษานี้มุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจของบริษัทเหม่ยถวนดีลิเวอรี่ และบริษัทเอ้ยเหริงเมอดีลิเวอรี่ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสาร ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์เป็นรูปแบบของบริษัททั้งสองแห่งตามองค์ประกอบ 9 ประการของรูปแบบธุรกิจแคนวาส จากนั้นทำการเปรียบเยบกัน ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม บริษัททั้งสองแห่งมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันโดยกลุ่มลูกค้าคือ ร้านค้าที่เป็นสมาชิกและผู้ที่สั่งอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและพนักงานออฟฟิศ คุณค่าสินค้าและบริการคือ การสร้างรายได้ให้กับร้านค้า การให้ความสะดวกและทางเลือกที่เพิ่มขึ้นกับผู้ที่สั่งอาหาร ช่องทางเข้าถึงลูกค้าผ่านการใช้งานแอพพลิเคชั่นเป็นหลัก การชำระเงินเป็นแบบออนไลน์ไม่ใช้เงินสด พันธมิตรหลักคือผู้ผลิตชุดรับประทานและเว็บไซต์ต่างๆ กิจกรรมหลักคือการรักษาและพัฒนาแพลตฟอร์ม การบริหารระบบการขนส่ง และกิจกรรมโปรโมชั่น ทรัพยากรหลักคือพนักงาน ระบบการขนส่ง แอพพลิเคชั่น ข้อมูลลูกค้า และเงินสดหมุนเวียน รายได้หลักคือ ค่าคอมมิชชั่นได้รับจากร้านค้า ค่าการตลาด และค่าส่งอาหาร โครงสร้างต้นทุนประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร ด้านการตลาด ด้านการขนส่ง และด้านการรักษาระบบ สิ่งที่แตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญ คือ การให้บริการซึ่งเป็นส่วนของคุณค่าที่บริษัทต้องการสร้าง บริษัทเหม่ยถวนให้ความสำคัญกับการบริการที่ตรงเวลาตามมาตรฐาน ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้บริษัทมีผลประกอบการเหนือกว่าคู่แข่งขัน

Abstract


This study aimed to compare the business models of Meituan Delivery Co. and Ele.me Delivery Co. Ltd., by using Business Model Canvas as a framework. Data was gathered by interview and documentary research, analyzed and compared in the form of both companies according to the 9 elements of the Canvas business model. The results showed that the companies were similar in several aspects. They had two groups of customers : the restaurant partners, and the food ordering customers who were mostly college students and officer workers. Their value was to make income to the restaurant partners, and to make life more convenient for ordering customers. The accessible for all customer groups channel was via application. The payment was cashless and only available online. Their key partners were packaging manufacturers, and websites. The key activities were maintenance and development of the platform, delivery system management, and promotional activities. The key resources were the employees, food delivery system, application, customer data, and cash flow. The revenue consisted of the commission received from the restaurant partners, marketing fees from various promotional activities, and delivery charges. The cost structure included administration, marketing, delivering, and maintenance cost. The significant difference was in the servicing process which was one of the key value of companies in the industry. Meituan did emphasis on being on-time service which would definitely lead to more customer satisfaction. This issue was said to be a key for Meituan’s better performance.

Article Details

Section
บทความวิจัย