ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบการนำเข้าอาหารตามมาตรฐานสากล ณ ด่านใน สปป. ลาว

Main Article Content

สิริวรรณ ชุมพล
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อกิจกรรมตามมาตรฐานสากลและการปฏิบัติงานตรวจสอบการนำเข้าอาหาร ณ ด่านอาหารและยาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยศึกษาด่านสากลจำนวน 16 ด่าน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร หรือ ผู้กำหนดนโยบายกองกวดกาอาหานและยา จำนวน 5 คนโดยเลือกกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้ได้แนวคิดของกิจกรรมตามมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร จากนั้นนำผลที่ได้ไปสอบถามความคิดเห็นกับกลุ่มที่สอง คือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาหาร และยาประจำด่าน จำนวน 38 คน เพื่อทราบความพร้อมและการสนับสนุนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ที่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2558 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย เห็นควรให้มีการตรวจสอบการนำเข้าอาหารให้ครบถ้วนทุกขั้นตอน ตามหลักการสากลซึ่งมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ การตรวจสอบเอกสาร และเอกสารประกอบ การตรวจสอบสินค้าตัวจริง ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบการนำเข้าอาหารตามมาตรฐานสากล ณ ด่านใน สปป. ลาว โดยเฉพาะประเภทอาหารสด และการรายงานสินค้า ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานและความต้องการในการได้รับการสนับสนุนของผู้ปฏิบัติงานจริงพบว่า ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสารการนำเข้าอาหาร สามารถปฏิบัติได้จริง คิดเป็นร้อยละ 73.68 ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสินค้าตัวจริง โดยทำการสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Screening test) ประเภทอาหารสดมักประสบปัญหาในการปฏิบัติ (ร้อยละ 60.20) จึงเห็นควรให้มีคู่มือวิธีการสุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 92.10) และการฝึกอบรม คิดเป็น (ร้อยละ 65.80) ขั้นตอนที่ 3 การรายงานสินค้ากรณีตรวจสอบอาหาร ควรมีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้นำเข้ารวมถึงสินค้าที่เคยพบว่ามีปัญหา และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานรับทราบด้วยจะช่วยทำให้การเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Abstract
The objective of this research were to study opinions on international Standard activation and imported food inspection practice at food and drug checkpoint of Lao’s People Democracy Republic (LaoP.D.R). The research studied 16 International check points from two sample groups of five selected responsible people form administrators or policy makers in food and drug administration in order to get standard concept for food safety monitoring. Then, the result was taken to the second group which was 38 officers of Food and Drug inspection at the checking points to check readiness and required support. The research tool was structured questionnaire and approved contents module from qualified consultant. This survey research data were analyzed by using descriptive statistics. Data collecting period was from February to June 2016. The research found that the policy maker suggested all imported food should be fully inspected according to international principles with three significances steps; auditing forms and authorized approved, factual trade audited especially for fresh food, and trade reporting. The results of the feasibility study and the required support of the on duty people were as follows; 1. Verification of food import documents was 73.68 percent practicable, 2. Factual trade audit by random screening test often had problem in real performing 60.20%. Therefore, it should have scanning test handbook 92.10% and training course 65.80%, 3. Trade reporting in the case of food inspection, there should be information of importer as well as the product that has been found to have problems, and staff should be informed to enable more effective control.

Article Details

Section
บทความวิจัย