ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้บริการสถานีน้ำมัน เอสโซ่ ของประชากรในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

มนสินี พัฒนสุวรรณ
พีรเวธน์ สุวรรณสิทธิ์
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพบริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลการเข้าใช้บริการสถานีน้ำมันเอสโซ่ของประชากรในจังหวัดนนทบุรีโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คนจากประชากรที่ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ในจังหวัดนนทบุรีทั้งหมด 20 สถานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-29 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานหรือลูกจ้างเอกชน และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท ปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อการเข้าใช้บริการมีความสำคัญระดับมากและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเข้าใช้บริการมีความสำคัญระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างปัจจัยคุณภาพบริการจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ด้านอาชีพ โดยภาพรวมแตกต่างกัน จำแนกตามพฤติกรรม ประเภทของรถที่ใช้ จำนวนเงินในการเติมน้ำมัน ช่วงเวลาเติมน้ำมันของผู้ใช้สถานีบริการเอสโซ่ โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่าง จำแนกตามพฤติกรรม จำนวนเงินในการเติมน้ำมัน บริษัทน้ำมันที่เลือกเป็นหลัก ช่วงเวลาเติมน้ำมัน โดยภาพรวมแตกต่างกัน

Abstract
The objective of this research were to study factors of service quality and marketing mix or 7P that affected population access to services of Esso gas stations in Nonthaburi. The study surveyed 400 people who took the services from 20 Esso gas stations in Nonthaburi. The tools used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, T-test, ANOVA by SPSS package program. The results found that most sample were male, aged between 20-29 years, graduated, worked as officers or private employees, and gained salary more than 30,000 Thai Baht per month. Most of respondents chose the factor of service qualities that influenced decisions to access the gas station services in high level. The factor of marketing mix was at medium level. The results of comparing differences of service qualities classified by samples’ personal status and occupation were different, by the samples’ behavior, vehicles, expense, and refueling time. The results of comparing differences of marketing mix classified by personal status were indifferent, by behavior, expense, refueling time, and brand of gas station, the overall results were different.

Article Details

Section
บทความวิจัย