อิทธิพลของการรับรู้ในความสามารถของตนเองและความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อการพัฒนาตนเองของผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

Main Article Content

วิรมณ นุชเนื่อง
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ในความสามารถของตนเอง ความพึงพอใจในการทำงาน และการพัฒนาตนเอง 2) เปรียบเทียบการพัฒนาตนเอง จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน และ 3) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ในความสามารถของตนเอง และความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อการพัฒนาตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมทุกระดับชั้นในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไปในสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมจำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมมีระดับการรับรู้ในความสามารถของตนเอง ความพึงพอใจในการทำงาน และการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับสูง 2) ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมที่เงินเดือน ตำแหน่งงาน และสายงานที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีการพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การรับรู้ในความ สามารถของตนเองและความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบายการพัฒนาตนเองในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านตนเอง ด้านสังคม และด้านงาน ได้ร้อยละ 60.2, 47.2, 40.5 และ 41.3 ตามลำดับ

Abstract
The objectives of this research were to 1) study the level of perceived self-efficacy, Job Satisfaction and Self-development, 2) compare Self-development by personal and job characteristics and 3) study the Influence of Perceived Self-Efficacy and Job Satisfaction on Self-Development. Samples were 365 engineering occupation at all levels in automotive industry in Laem Chabang industrial estate, and graduated in high vocational certificate program or above in various engineering fields. The data were collected by questionnaire. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, One way ANOVA and stepwise multiple regression. The results were as follows; 1) engineering occupation had high level of perceived self-efficacy, job satisfaction, and self-development. 2) engineering occupation with different salary, position and responsibility had different self-development with significance at the statistics level 0.05. and 3) Perceived self-efficacy and job satisfaction had influence on self-development of engineering occupation with significance at the statistics level 0.05, and it could be predicted on overall, self ability, social ability and task ability of self-development at 60.2%, 47.2%, 40.5% and 41.3%

Article Details

Section
บทความวิจัย