การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • วิราษ ภูมาศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • จรูญศักดิ์ แพง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์การปกครอง ) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์การปกครอง ภาคปกติ (คฤหัสถ์) ปีการศึกษา 1/2559 จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =3.76, S.D. = 0.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้แก่ ด้านการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ด้านการอนุรักษ์น้ำ ด้านการจัดการขยะ และ ด้านการอนุรักษ์พลังงานตามลำดับ 2) นักศึกษา ที่มีอายุ และชั้นปีที่เรียนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน โดยรวมทั้ง 4 ด้านแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนนักศึกษา ที่มีเพศ ต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) นักศึกษาได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนไว้ว่าควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกแก่นักศึกษาให้มีความรู้สึกรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมหาวิทยาลัยต้องให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งมนุษย์จะต้องรู้จักอนุรักษ์ให้คงอยู่ไว้ตลอดไป

 

References

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ , กาญจณา สุขาบูรณ์. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประชาชนในตำบลสามบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มีชัย วงษ์อูบ. (2558). แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.
สุชิรา นวลกำแหง. (2556). รูปแบบการส่งเสริม พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารของบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมก่อสร้าง, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.1/contect/1-2-9.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27