การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา เฟซบุ๊กเพจ SUTHEP THAUGSUBAN (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ช่วงเวลา 31 ตุลาคม 2556 ถึง 22 พฤษภาคม 2557

ผู้แต่ง

  • ชัยนัท สุขไชชยะ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การเมืองไทย, สื่อสังคใออนไลน์, สุเทพ เทือกสุบรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา เฟซบุ๊กเพจ SUTHEP THAUGSUBAN
(สุเทพ เทือกสุบรรณ) ช่วงเวลา 31 ตุลาคม 2556 ถึง 22 พฤษภาคม 2557 การวิจัยดังกล่าว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติจากผู้ติดตาม เพจ เฟซบุกและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูล 3 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารทางการเมืองผ่านเฟชบุ๊ก นำมาใช้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก หลังจาก การสื่อสารผ่านทีวีดาวเทียม และการสื่อสารผ่านทางวิทยุชุมชน  โดย การศึกษานี้พยายามทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวทางการเมืองออนไลน์และความเชื่อมโยงกับออฟไลน์ผ่านเครือข่าย การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารไร้สายที่รวดเร็วขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ทำให้ความรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมของเราจะมีผัสสะเชิงข้อมูลด้านต่างๆ ที่รับรู้ผ่านทางออนไลน์เข้ามาเสริมด้วย พื้นที่ออนไลน์/ออฟไลน์เองก็กำลังค่อยๆ เปลี่ยนหน้าตาไป มีผลทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และกำลังจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารทางการเมือง และเพื่อเป็นแนวทางในรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารของผู้นำทางการเมืองไทยในอนาคต

References

จรูญ หยูทอง. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์. สืบค้น 3 เมษายน 2560, จาก http://www.manager.co.th

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนวดี เกียรตินิยมศักดิ์. (2542). มณฑลของสาธารณะของการสื่อสารตัวกลางของคอมพิวเตอร์กรณีศึกษาwww.pantip.com และ www.sanook.com (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Berlo, David K. (1960). The Process of communication. New York: Holt, Rinchart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27