การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการสื่อสารภาษาจีนพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุหลาบวิทยา ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์

ผู้แต่ง

  • วรรษมน โลกานุวัตรเสถียร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการสื่อสาร, การจัดการเรียนการสอนแบบ Storyline, ทัศนคติต่อการเรียนภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีน ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Storyline) พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุหลาบวิทยา 2) เพื่อสำรวจทัศนคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุหลาบวิทยาที่มีต่อการเรียนภาษาจีน ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุหลาบวิทยา กลุ่มตัวอย่าง 29 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนที่จัดการเรียนการสอนแบบ Storyline แบบทดสอบวัดความสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน และแบบสำรวจทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาจีน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการสื่อสารภาษาจีนพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ Storyline สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุหลาบวิทยามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาจีน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชมพูนุท อ้นจันทร์. (2550). การใช้วิธีสตอรี่ไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนระดับกำลังพัฒนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองพิมพ์ นารถโคษา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์หน่วยชีวิต กับเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บงกช วิบูลย์รัตนกิจ. (2556). บทเรียนแอนิเมชั่นโดยใช้การสอนแบบ Storyline บนคอมพิวเตอร์แบบพกพา เรื่องพระพุทธศาสนาสำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).

ปิยะนันท์ แจ่มจันทร์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรางคณา เค้าอ้น. (2559). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

วลัย พานิช. (2543). การสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิษา เขียงกระโทก. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการสอนแบบ Storyline ร่วมกับเทคนิค CIRC. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

สุภา ศรีงาม. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศึกษานารีวิทยาโดย การเรียนแบบสตอรี่ไลน์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุรีพร ไตรจันทร์. (2557). สภาพปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ยุคปัจจุบัน ของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(2), 195-197.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ศรีวิมล สุรสันติวรการ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04