ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรบางประการกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาคลอดก่อนกำหนดที่บุตรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล. The Relationships of Selected Factors and Postpartum Depression among Postpartum Mothers with Hospitalized Preterm Infants.

Authors

  • rattikan raksapakdee คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สาสาวิชาการผดุงครรภ์)
  • Pakvilai Srisaeng สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น
  • Supunnee Ungpansattawong คณะสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

postpartum depression, maternal stress, postpartum mothers, preterm birth, hospitalized newborn

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ น้ำหนักทารก ระยะเวลาที่บุตรนอนโรงพยาบาล ความเครียดของมารดา แรงสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดาคลอดบุตรก่อนกำหนดจำนวน 62 ราย ที่บุตรได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตและหอผู้ป่วยทารกป่วย ที่ระยะ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด ณ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลมหาสารคาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแยกส่วน ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดของมารดาที่สมรสหรืออยู่ด้วยกันกับสามีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .572, p<.001) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าพยาบาลควรประเมินความเครียดของมารดา รวมทั้งให้การดูแลผู้ที่มีความเครียด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่คลอดก่อนกำหนด

คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, ความเครียดของมารดา, มารดาหลังคลอด, คลอดก่อนกำหนด, ทารกที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล

Abstract

The purpose of this study was to assess the relationships between infant birth weight, length of stay in the hospital, maternal stress, social support, and postpartum depression at 4-6 weeks postpartum among 62 postpartum mothers with preterm infants admitted to NICU or sick newborn unit at Khon Kaen Hospital, Kalasin Hospital, and Mahasarakham Hospital. Data were analyzed by Spearman,s rank correlations coefficient, Pearson,s correlations coefficient and Partial correlations coefficient. The results showed that maternal stress in married– in relationship group was also statistically correlated with postpartum depression (r = .572, p<.001). The results indicate that nurses should assess stress and care for maternal stress in order to prevent the risk factors of postpartum depression in preterm mothers.

Downloads

Published

2018-07-02

How to Cite

1.
raksapakdee rattikan, Srisaeng P, Ungpansattawong S. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรบางประการกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาคลอดก่อนกำหนดที่บุตรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล. The Relationships of Selected Factors and Postpartum Depression among Postpartum Mothers with Hospitalized Preterm Infants. JNSH [Internet]. 2018 Jul. 2 [cited 2024 Apr. 20];41(1):1-11. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/101199