การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง : กรณีศึกษา นักศึกษา กศน. ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช Social Immunization for at-Risk Youth : Case Study of Student in Kuantong Sub-District Non-Formal Education. Khanom District, Nakhon Sri Th

Main Article Content

ธนัชชา รอดกันภัย
ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงของเยาวชน ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกระบวนการวางแผนจากตัวแทนนักศึกษา ผู้ปกครอบและผู้ที่เป็นภาคีเครือข่ายของ กศน.ตำบลควนทอง  จำนวน 30 คน โดยเลือกประชากรผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยเป็นการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation-Influence-Control) และวิเคราะห์ข้อมูลนำมาทำแผนปฏิบัติการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเสี่ยงทางสังคม  1.1) ด้านสภาพทั่วไปทางสังคม ตำบลควนทองเป็นตำบลที่มีประวัติมายาวนาน มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นตำบลควนทองจึงเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งอาศัยกันแบบสังคมเครือญาติ มีรายได้มั่นคงจากการประกอบอาชีพดังกล่าว 1.2) สัมพันธภาพในครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูบุตรของพ่อ แม่ในปัจจุบัน พบว่า ปัจจุบันสัมพันธภาพของครอบครัวของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมโลกาภิวัฒน์ จากครอบครัวใหญ่มาเป็นครอบครัวที่เล็กลงเป็นครอบครัวเดี่ยว เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นแบบต่างคนต่างอยู่ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่ต้องหารายได้เพิ่ม ให้เพียงต่อค่าใช้จ่ายของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวคือ เวลา เงิน สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อีกทั้งเมื่อชุมชนเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมเมือง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลง 1.3) ด้านสถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง สถานการณ์ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ออกจากโรงเรียนกลางคัน การใช้ความรุนแรง การยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ท้องก่อนวัยอันควร 1.4) ด้านการไม่รู้เท่าทัน ด้านใช้เทคโนโลยีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง เยาวชนส่วนใหญ่นำเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Line มากกว่าการใช้เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลาในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน 2) การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 2.1) โครงการพัฒนา กศน.ตำบลควนทองเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน  2.2) โครงการเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.3) โครงการอบรมพัฒนาทักษะชีวิต สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น          2.4) โครงการค่ายพัฒนาทักษะชีวิต “ปลูกคุณธรรม จริยธรรม นำปัญญา เรียนรู้เพศศึกษา ห่างไกลยาเสพติด พัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน 2.5) โครงการค่ายพัฒนาทักษะชีวิต “ปลูกคุณธรรม จริยธรรม นำปัญญา เรียนรู้เพศศึกษา ห่างไกลยาเสพติด พัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน 2.6) โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน 2.7) โครงการฝึกทักษะอาชีพให้กับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ     2.8) โครงการพัฒนาความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี และการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 


Abstract


This research aims to 1) study youth’s risk factors for youth and 2) suggest the guideline of social immunization of at-risk youth in Khuantong sub-district, Khanom district, Nakhon si thammarat province. The population group is 30 people of at-risk youth, parents of the youth community and partnership networks of Non-formal Education in Khuantong sub-district, by selecting participants purposively. The researcher collected data by analyzing document, in-depth interview and participatory planning process Appreciation-Influence-Control : AIC


The results were found that 1) youth’s risk factors in 4 aspects; The first aspect was social generality in Khuantong sub-district , a traditional agricultural society that local people have a simple lifestyle and the steady income was from their agriculture. The second aspect was family relationships of at-risk youth, according to the globalization, had been changed to a single family. The important variables for decreasing family relationship were money, time for sharing and daily facilities. The third aspect was situations affecting toward life quality of at-risk youth such as school dropouts, violence, narcotics drug problem and premature. The forth aspect was media literacy that at-risk youth acquired social media instead of browsing for learning as a part of their life, using Facebook or other online means of communication at least 8 hours a day. 2) the guidelines of social immunization of at-risk youth in Khuantong sub-district Khanom district were the undertaking projects such as Development of Life-long resources of community of Non-formal Education in Khuantong sub-district, Integration resources through wisdom based on sufficientcy economy principles, Development of life skills for relationship connection in family of teenager parents , Development of life skills to enhance the value of ethics and morality, Practicing occupational skills for at-risk youth  based on sufficientcy economy principles and Development knowledge and ability on Information and communication technology (ICT) literacy, media and internet literacy.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2553). แนวคิดทฤษฎีด้าน
ครอบครัว. [Online]. เข้าถึงได้จาก: www.rta.mi.th/630a0u/file/Lt.sompong.doc [2558, ตุลาคม 58].
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2553). สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว. [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.si.mahidol.ac.th/[2558, สิงหาคม 15].
เฉลิมศรี อานกำปัง. (2552). การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดสตูล.
ชุลีพร บุตรโคตร, ชนากานต์ อาทรประชาชิต. (2554, มกราคม 30). สถิติเด็กผิดคดี 'ยาเสพติด' มากสุด กรม
พินิจฯ เร่งปรับแผน-แยกกลุ่ม ฟื้นคืนสังคม-หวังลดกระทำผิดซ้ำ. TCIJ [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.tcijthai.com/office-tcij/view.php?ids=1962. [2558, กรกฎาคม 18].
ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคม. มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์
ณัฐพงศ์ ช่วยพิทักษ์, ธตรัฏฐ์ เด่นศรีเสรีกุล, ภูรินท์ อารีย์สว่างกิจ, วิศว แก้วประดิษฐ์. (2556). อิทธิพลของ
เพศ เพื่อน ครอบครัว ที่มีต่อวัยรุ่น. [Online]. เข้าถึงได้จาก: http://mwitspe47teenager.blogspot.com/p/blog-page.html [2558, สิงหาคม 12]
ดนัย ไชยโยธา. (2546). สังคม วัฒนธรรม และ ประเพณี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตว์.
ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2552). ทฤษฎีวัยรุ่น. [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://soonthon.blogspot.com. [2558, กันยายน 10].
ไทยพับลิก้า. (2558). โครงสร้างประชากร 30 ปีข้างหน้า. [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://thaipublica.org/2014/03/motherhood-in-childhood/ [2558, สิงหาคม 3].
นาวี สกุลวงศ์ธนา, รื่นวดี สุวรรณมงคล, จิตติมา เกษมโกเมศ. (2555). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติด
สําหรับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน : ภูมิคุ้มกันเพื่อสร้างโลกสีขาว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บรรเทิง พาพิจิตร. (2547). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บรรพต วีระสัย. (2515). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
บ้านจอมยุทธ. (2558). จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น . [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension1/concepts_of_developmental_psych
ology/02.html. [2558 สิงหาคม 15].
ประเวศ วะสี, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2537). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [Online]. เข้าถึง
ได้จาก: www.rta.mi.th/630a0u/file/Lt.sompong.doc. [2558, ตุลาคม 2]
ประเวศ วะสี. (2542). ภูมิคุ้มกันทางสังคม วัคซีนทางสังคม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.go.th .
[2558, กันยายน 2].
พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2538). จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น. [Online]. เข้าถึงได้จาก:
www.banjomyut.com. [2558, ตุลาคม 15]
พิเชฐ บัญญัติ. (2547, ตุลาคม 5). ภาวะภูมิคุ้มกันทางสังคมบกพร่อง : วิกฤตสังคมไทย. มติชน, หน้า 7.
ไมตรี จันทร์เจริญ และคณะ. (2554). แนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันชุมชนจากปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้าน
พลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุน.
วิจารณ์ พานิช. (2554). ภูมิคุ้มกันทางสังคม. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org. [2558,
กันยายน 2].
วิชัย สุทธิสิงห์ และคณะ. (2551). ชุมชนหนองเหมือดแอ่กับกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันการตั้งครรภ์
ก่อนวัยอันควร ในเด็กและเยาวชน ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงาน
กองทุนสนับสนุน.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2543). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สาธนี เปรมปรีดิ์. (2555). สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาที่อยู่ในความดูแล
ของสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดชัยภูมิ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). เยาวชน..คนกลุ่มเสี่ยง. [Online]. เข้าถึงได้จาก:
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_youth.jsp. [2558, สิงหาคม 3].
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2556). ทักษะการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงาน กศน.
เสถียร โกเศศ. (2521). วัฒนธรรมเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ราชบัญฑิตยสถาน.
ไสว แก้วเรียงแสง และคณะ. (2554). ศึกษารูปแบบและกระบวนการเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่นของครอบครัวที่ เหมาะสม
กรณีบ้านนาสีบ้านขาม บ้านศรีวิไล บ้านนานิคม ตําบลนาสี อําเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลําภู. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.