ประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 The management Effectiveness of School Administrators in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 3

Main Article Content

เยาวเรศ บัวขาว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ดร. ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

Abstract

บทคัดย่อ


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างได้ดำเนินการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference)   ผลการวิจัยพบว่า


       ประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและจำแนกตามขนาดของโรงเรียนพบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยขณะปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน


Abstract


       The objectives of the research were:1) to study the management effectiveness of school administrators in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area office 3 and 2) to compare the management effectiveness of school administrators in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area office 3. The samples used for this research were the educational administrators with the total number of 152 cases by stratified random sampling techniques. The instruments used in the research were questionnaires. The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, mean, t–test and standard deviation and one–way ANOVA. The differences were tested by LSD’ method. The findings were as follows:


       The management effectiveness of school administrators in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area office 3, as a whole and each aspect, was at a high level. The comparison results for management effectiveness of school administrators in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area office 3which were classified by work experiences and which were classified by school size different at .05 statistical significance.which were classified bynative habitat while they are working as the school administrations, have not also different.


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ไกรวัลย์ รัตนะ. (2557). บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 27. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยบูรภา.
จิราพร หมวดเพชร, รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ และรุจิราพรรณ คงช่วย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่
วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. 26 มิถุนายน 2558, หน้า 75-86). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิตติพร จิตตรี. (2557, ตุลาคม– ธนวาคม). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทาง
การศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสาร
บัณฑิตศึกษา, 11(5), น.35.
ตัทธิตา ติ่งต่ำ. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับ
ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2),
น.47
เนติมา เที่ยงตรง. (2558). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขต ระยอง 1
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.
ลัดดาวรรณ นัดดาเทพ. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา
จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศ
ไทย (สสอท.). 20 (2), น.59-68.
สุริยา ไทรสุวรรณ. (2556). ประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการ
บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สุรีพร โพธิ์ภักดี. (2558, มกราคม–มิถุนายน). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 8(1), น.47.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (2558). รายงานผลการดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ 2558, น.4-9
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คูมือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหมตาม แนว
ทางการบริหารกิจการ บานเมืองที่ดี: การประกาศขั้นตอนแผนภูมิการปฏิบัติงานและกําหนด ระยะเวลา
แลวเสร็จการกระจายอํานาจการตัดสินใจ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.).
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551). รวมกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและ
บุคลากรทางการศึกษา.
Hoy, K, W., Miskel, G, C. (2001). Educational Administration-Theory Research and Practice.
New York: McGraw-Hill