ขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรในภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างสมดุลยั่งยืน The Formation of Community Organizations in Managing Agricultural Areas in the South of Thailand, part of the Food Security and Balanced Sustainable Agricultural Area Management Project

Main Article Content

อุดมศักดิ์ เดโชชัย
สุรินทร์ ทองทศ

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยเรื่อง ขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรในภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างสมดุลยั่งยืน นั้น คณะผู้วิจัยได้เลือก กรณีศึกษา ภาพรวมของขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดพัทลุงโดยยกตัวอย่าง การจัดการพื้นที่ทางการเกษตรโดยขบวนองค์กรชุมชน ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง บริบทของขบวนองค์กรชุมชนรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนในจังหวัดพัทลุงเพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ที่สมดุล ยั่งยืนให้กับชุมชนอื่นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลจากการศึกษาพบว่า


  1. รูปแบบการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงเมื่อพิจารณาพบว่า มีรูปแบบ การจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงในลักษณะการแบ่งโซนพื้นที่ มี 3 ลักษณะ หรือ 3 โซนด้วยกันคือ 1) โซนภูเขาพื้นที่ราบสูงหรือเรียกว่า “โซนป่า” 2) โซนนา 3) โซนทะเล

  2. รูปแบบการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนตำบลควนมะพร้าว มีการใช้ขบวนองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนงานทางการเกษตรของพื้นที่ตำบล ซึ่งจะพบเห็นเกษตรกรใช้พื้นที่ทางการเกษตร คือ 1) รูปแบบการปลูกพืชผสมผสาน 2) รูปแบบการปลูกพืชทางการเกษตร ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และสำหรับการประมงนั้นพบว่าจะเป็นการทำกันในบ่อเพาะเลี้ยงและตามแหล่งน้ำ

นอกจากนั้นยังพบอีกว่า อย่างน้อยมีปัจจัย 2 ประการที่นำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการปรับตัวของขบวนองค์กรชุมชนคือ1) ปัจจัยภายในของขบวนองค์กรชุมชน ซึ่งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ด้านศักยภาพ ขีดความสามารถของผู้นำ ด้านศักยภาพในการบริหารจัดการทุนชุมชนทั้งมิติกิจกรรมและเชิงพื้นที่ ด้านการประสานงาน การต่อรองกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น2) ปัจจัยภายนอกที่มากระทบต่อขบวนองค์กรชุมชนซึ่งปัจจัยดังกล่าวที่ว่านี้ อยู่เหนือการควบคุมหรืออยากต่อการควบคุมของขบวนองค์กรชุมชน เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก กระบวนการโลกาภิวัตน์ นโยบายรัฐและหน่วยงาน เป็นต้น


        สรุปได้ว่าขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ดำเนินกิจกรรมภาคการเกษตรและใช้กลุ่มองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างหลากหลาย เชื่อมโยงเกื้อกูลกันเต็มพื้นที่ทั้งในกระบวนการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการจำหน่าย กล่าวได้ว่าแนวโน้มขบวนองค์กรชุมชนกำลังก้าวไปสู่การเป็น “ผู้ประกอบการชุมชน” เต็มพื้นที่ โดยการนำเอาทุนชุมชน ทุนภาคเกษตรของตนเองมาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มในลักษณะของวิสาหกิจชุมชน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Reference

Community Organizations Development Institute. (2007). Community Organization
Movement. Bangkok: Ministry of Social Development And human security. (in Thai)
Department of Agriculture of Phatthalung province (2011). Report communities Enterprise of
Phatthalung Province.Department of Agriculture.Ministry of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)
Leedy,P and Ormrod, J. (2015). Practical research planning and design. NewYork: Pearson.
Lertgrai, P. &Nilakan, L. (2016). Data collection in fieldwork of Community research.
Narkbhutparitat Journal. Review, 8(2). Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si
Thammarat Rajabhat University. (in Thai)
Lertgrai,P. Muenhat, S. Nilkarn, L. (2017). Development of theoretical learning organization.
Narkbhutparitat Journal Review. Nakhon Si ThammaratRajabhat University.9 (1)
(in Thai)
Meebua,S. Uejitmet, W. Subsin,W. (2560). Changes in The Way of Life and The Impact of
Tourism on The Local Way of Kiriwong Life. NarkgbhutParitat Journal Review, 9
(1). Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si ThammaratRajabhat University. (in Thai)
Office of Agricultural Economics (2013), Strategic Development Department. In the
economic and social development plan. National 11 years from 2012 to 2016
Revised January 2013. (in Thai)
Southern Agricultural Extension Office (2008). Southern Agricultural Extension Office
Songkhla Province Thailand. (in Thai)
Sopanodorn, P.Kamnanrat,A. WannaChit,W. (2002). The production plants in the
South. Songkhla : Prince Songkhla University Hadyai Campus. (In Thai)
Symon,G and Cassell, C. (2012). Qualiy]tative organizational research coremethods and
currentchallenges.