ผลการจัดการสอนแบบทีมต่อการสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี Effectiveness of Team Teaching towards Public Consciousness Building of Students in Primary Schools in Koh Samui, Suratthani

Main Article Content

จิราวรรณ คุ้มพร้อม สำลีพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ


  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการสอนแบบทีมต่อการสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนแบบทีม กลุ่มตัวอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ข้อ 1 คือ ครูสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับครูสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเกาะสมุย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  การเลือกครูกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากโรงเรียน 3 โรงเรียน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ข้อ 2 คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 65 คน จากโรงเรียน 3 โรงเรียน ที่สุ่มตัวอย่างได้ในข้อ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชิ้น คือ 1) แบบการประเมินการจัดกิจกรรมของครูที่จัดการสอนแบบทีม 2) แบบสังเกตชั้นเรียนของครูที่จัดการสอนแบบทีม 3) แบบประเมินตนเองของครูที่จัดการสอนแบบทีม 4) แบบสำรวจพฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการสอนแบบทีม และ 5) แบบบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล โดยใช้วิธีวิจัย       แบบผสมผสาน (Mixed–Methods Research) ระหว่าง วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)


   ผลการวิจัย สำหรับวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 1 พบว่า 1) จากแบบการประเมินการจัดกิจกรรมของครูที่จัดการสอนแบบทีม ตามแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 1-หน่วยที่ 6 ทั้ง 6 หน่วยการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับมากที่สุด  2) จากแบบสังเกตชั้นเรียนของครูที่จัดการสอนแบบทีม พบว่า 2.1) วิธีการจัดการสอนแบบทีมเนื้อหาทันสมัย กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ทีมครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitators) นักเรียนเรียนแบบกระตือรือร้น ทำงานเป็นกลุ่ม บรรยากาศในชั้นเรียนสนุก นักเรียนมีความสุข 2.2) ด้านการกำกับดูแลชั้นเรียน นักเรียนตั้งใจเรียน สนใจเรียน มีความสุข ทีมครูดูแลชั้นเรียนดี เป็นที่ปรึกษา คอยให้ความช่วยเหลือและแนะนำ  2.3) ด้านการบริหารจัดการเวลาและวิธีการประเมิน ครูบริหารเวลาได้ดีเหมาะสมกับกิจกรรม ประเมินนักเรียนตามแบบประเมินทุกกิจกรรม และประเมินเป็นกลุ่ม 2.4) ด้านเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม นักเรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง 2.5) ด้านการตัดสินใจและรับผิดชอบร่วมกันของทีมครู ครูทำงานแบบทีมเข้ากันได้ดี  2.6) ข้อเสนอแนะอื่นๆ คือ  ด้านเวลาและด้านการจัดนิทรรศการน้อยไป  3) จากแบบการประเมินตนเองของครูที่จัดการสอนแบบทีม พบว่า ทีมครูที่สอนร่วมกันประเมินตนเอง สรุปความคิดเห็นว่า ประโยชน์สูงสุดของการสอนแบบทีม มี 4 ข้อดังนี้ 3.1) ข้อดีของการสอนแบบทีม 3.2) ข้อดีของการเห็นคุณค่าของขยะ/วัสดุที่ใช้แล้ว 3.3) ข้อดีของการทำกระบวนการกลุ่ม 3.4) ข้อจำกัดด้านเวลา 4) จากแบบสำรวจพฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการสอนแบบทีม พบว่าพฤติกรรมในการจัดการขยะของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนในทุกด้าน               


   ผลการวิจัย สำหรับวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 2 จากแบบบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจการสอนแบบทีมของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


   ในภาพรวมพบว่า การวิจัยชี้ให้เห็นประโยชน์ของการสอนแบบทีม (Team Teaching) ต่อการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา การสอนแบบทีมเป็นรูปแบบการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการออกแบบหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน สร้างบรรยากาศที่ดี สนุกสนาน และสามารถสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะได้ เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง 


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

Dewey, J. (1993). How we think. Lexington, MA: D. C. Health.
Jones, P, Selby, D. and Sterling, S. (2010). (eds). Sustainability education perspectives
and practice across higher education. TJ International: United Kingdom.
Fischer, D.et al. (2015). UN global action. programme and education for sustainable
development: a critical appraisal of the evidence base In Discourse and
Communication for Sustainable Education, vol.6 ,pp.5-2015.
Hiller, K. and Reichhart, B. (2017). Motivation of civic education teacher-in- training in
the field of education for sustainable development.In Discourse and
Commmunication for Sustainable Education, vol. 8, no. 1, pp. 81-89.
Hoornweg, D. and Bhada-Tata, P. (2012). What a waste- a global review of solid
waste management. Urban development series knowledge paper. (15), 17.
Ripley, A. (2010). “What makes a great teacher”. The Atlantic, January/ February.
http:www. Theatlantic.com magazine/archive/2010/01what- makes-a- great-
teacher/784/11 (accessed December 23,2017)
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2014b).
Vodopivec, L (2013). International perspectives: solid waste management in Nairobi
City: knowledge and attitudes. In L.O.Nyabola and E,Tenanberger, Journal of
Environmental Health, 00220892 Dec. 1997, Volume 6, Issue 5