การบริหารวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 Early Childhood Academic Administration in Schools under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 4

Main Article Content

สุพรรษา ใจอารีย์
นพรัตน์ ชัยเรือง
บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษา การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 จำแนกตาม ประเภทสถานศึกษาสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย และ ขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง  คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้าครูวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4  ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และ หัวหน้าครูวิชาการระดับปฐมวัยจำนวน 230 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ  เครจซี่ และมอร์แกน  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  และวิธีการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t – test  วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)  และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ LSD  (Least Significant Difference)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 มีการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 จำแนกตามตามประเภทสถานศึกษา สถานภาพตำแหน่ง และประสบการณ์ พบว่า มีการบริหารงานด้านวิชาการระดับปฐมวัยไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่า มีการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Reference

Group Policy and Planning Office of Nakhon Si Thammarat Primary Education Service Area 4.
(2015). Report 2014. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Primary
Educational Service Area 4.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement.
Likert, R.(1967). The Method of Construting and Attitude Scale:Reading in Attitude Theory and
Measurement. New York: Wike &Son.
Ninlawan Wattana.(2013). Study of academic administration in the small – size primary school
under Chon Buri provinciai primary education office. Master’s Project, M.Ed.
(education administration). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Tongta Kuadnok. (2013). Study on teachers’ comment towards service competency of the
educational institution administrators of schools in central Bangkok, Office of the
Education, Bangkok Metropolitan Administration. Master of Education, educational
administration, Srinakharinwirot University.
Wichean Yodjak. (2012). Academic administration of private education institutions under Surat
Thani primary education office Area 1. Master’s Project, M.Ed. (education
administration). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Wimon Decha. (2016). The academic administration of school’ administrators of outstanding
sub district under the Satun primary educational service Area office. Master of
Education, educational administration, Hstyai University.
Suphrrnika Sisxad. (2013). Sturdy of academic administration of private pre- childhood
school in Bangkoknoi district Bangkok Metropolitan Administration. Master of
Education, educational administration, Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Suthiluck Phukphan and Somluck Phrhmminetr. (2015). Academic Management in Basic
Educational Institution under NakhonRatchasima PrimaryEducation Service
AreaOffice 4. Master’s Project, M.Ed.(EducationAdministration).Bangkok:Graduate
School, Nakhonratchasima Collegf.