ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 Administration Skills of School Administrators under Suratthani Primary Educational Service Area Office 3

Main Article Content

พิฐชญาณ์ มลิวัลย์
กุสุมา ใจสบาย
บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3  ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 108 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test


ผลการวิจัยพบว่า  ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ภาพรวมมีทักษะการบริหารอยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีทักษะการบริหารอยู่ในระดับมาก  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะด้านมนุษย์  รองลงมาตามลำดับคือ ทักษะด้านความคิดรวบยอดและทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านเทคนิค และทักษะด้านการศึกษาและการสอน  สำหรับการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3  1) จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะการบริหารไม่แตกต่างกัน  2) จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะการบริหารไม่แตกต่างกัน  และ 3) จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะการบริหารไม่แตกต่างกัน 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Drake, T. L., & Roe, W. H. (1996). The principalship. New York: Macmillan.
Drake, Thelbert L. & William H. Roe. (1986). The Principalship.3rded. New York:Macmillan
Gardner, H. (1993). Multiple Intelligence: The theory inpractice. New York: Basic Books.
Halpin, A. W. (1996). Theory and research in administrators. New York: Macmillan.
Harris. Ben. (1963). M. Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs: Prentice
Hall,lnc.
Jolly, R., & Artlle, F. (1996). The effectiveness of secondary Regents Universities.
Dissertation Abstracts International, 56, 42224-A.
Katz, R. L. (2005). Skills of an effective administrators. Harvard Business Review, 30, 45-61.
Kho, E. C. (2001). An evaluation study of the effectiveness of a united states based
globalLeadership development program. n.p.
Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Lertgrai,P. Muenhat, S. Nilkarn, L. (2017). Development of theoretical learning organization. Narkbhut Paritat Journal Review. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 9 (1). (In Thai)