รูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา Political culture learning model that affects the quality of work life of personnel, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University

Main Article Content

ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์

Abstract

     การศึกษารูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา จำนวน 701 คน ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามได้ 580 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.73 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตัวแทนนักการเมืองท้องถิ่น นายกเทศมนตรีหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวม 15 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณาความ


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยภาพรวมรายด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความคิดเห็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีจิตสาธารณะ ด้านการรู้จักใช้สิทธิของตนเองและรู้จักเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ด้านการสร้างสำนึกแห่งการรักษากฎหมายและเคารพกฎกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด ด้านการมองโลกในแง่ดี ด้านการยึดหลักสันติวิธีและการประนีประนอม และด้านการมีสำนึกแห่งการมีส่วนร่วมทางการเมือง

  2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) ด้านการมีสำนึกแห่งการมีส่วนร่วมทางการเมือง การสื่อสารผ่านการประชุม ประกาศของมหาวิทยาลัย 2) การสร้างสำนึกแห่งการรักษากฎหมายและเคารพกฎกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด ประชุมชี้แจงนโยบายการบริหารงานของฝ่ายบริหารเพื่อสร้างสำนึกแห่งการรักษากฎหมายและเคารพกฎกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด 3) การมีจิตสาธารณะ จัดกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้องทางการเมืองทั้งที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการหรือกิจกรรมตามประเพณีนิยมต่างๆ 4) การยึดหลักสันติวิธีและการประนีประนอม การพูดคุยปรับความเข้าใจโดยยึดสันติวิธีโดยใช้หลักการไกล่เกลี่ยและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ 5) การรู้จักใช้สิทธิของตนเองและรู้จักเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เคารพในความคิดของคนอื่น ยอมรับเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน มีระบบวิธีการทำงานที่สามารถยกระดับการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 6) การมองโลกในแง่ดี ไม่มีอคติในการทำงาน การตัดสินใจใด ๆ ต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และเกิดความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทั้ง 6 ด้าน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Reference

Cummings T. G. & Worley C. G. (1997). Organization Development Change. (16
edition),Cincinnati, Ohio : South-Western Collego Publishing.
Henimpanich, C. (2004). Policy analysis scopes, concepts, theories and case studies.
Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Khantikul, P. (2010). A Political Participation Model of the people in Dusit District, Bangkok.
Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)
Pattatitthi, S. (2001). Educational Measurement. Kalasin: printing coordination. (in Thai)
Pho Hope Prasit, P. (20136, January). Political instability in Thai political society: Some
observations from the existing research. Southern Journal of Technology, 6(1).91. (in Thai)
Promgird, P. (2014, September- December). Political culture and development
Isan Democracy: A Case Study of People in Khamphong and Villages Clean Tumbol Khaenong, Khon Kaen Province. Journal of the Faculty of Humanities
And social science Khonkaen University. 31(3) : 63.
Srisaad,B. (2002). Preliminary research. 7th edition Bangkok : Suviriyasarn. (in Thai)
Sukhothai Thammathirat Open University. (2015). “Thai politics” (2017).
https://www.stou.ac.th/ (April,4 2017)